^_^

รูปสวย glitter emoticon comment glitter.mthai.com

วันเสาร์ที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2556

การเขียนคำในภาษาไทย

การเขียนคำในภาษาไทย


1. การเขียนคำที่ออกเสียง อะ 
คำที่ออกเสียง อะ ในภาษาไทยมีวิธีการเขียน 2 วิธี
1. การเขียนโดยประวิสรรชนีย์ 
การเขียนโดยประวิสรรชนีย์ หมายถึง การเขียนคำโดยปรากฏรูปสระ อะ ซึ่งมีหลักเกณฑ์กำหนดดังนี้ 
1.1. คำไทยที่ออกเสียง อะ เต็มมาตรา ให้ประวิสรรชนีย์ เช่น
คะแนน ชะอม ชะอ้อน
ตะกร้า ตะขิดตะขวง ตะลึง
ทะนาน ทะลัก ทะลุ 
บอระเพ็ด ปะติดปะต่อ พะรุงพะรัง
พะนอ มะระ ระฆัง
ระวัง ระทวย ระบาย
ละเมอ ละเมิด สะอึก
1.2. คำไทยที่แต่เดิมเป็นคำประสม และพยางค์หน้ากร่อนเหลือเพียง “ อะ” ให้ประวิสรรชนีย์ เช่น
คำนึง กร่อนเป็น คะนึง
ฉันนั้น กร่อนเป็น ฉะนั้น
ฉันนี้ กร่อนเป็น ฉะนี้
ฉาดฉาน กร่อนเป็น ฉะฉาน
เฌอเอม กร่อนเป็น ชะเอม
ต้นขบ กร่อนเป็น ตะขบ
ต้นเคียน กร่อนเป็น ตะเตียน
ตาปู กร่อนเป็น ตะปู
ตาวัน กร่อนเป็น ตะวัน
สายดึง กร่อนเป็น สะดึง
สายดือ กร่อนเป็น สะดือ
หมากนาว กร่อนเป็น มะนาว
หมากพร้าว กร่อนเป็น มะพร้าว
หมากม่วง กร่อนเป็น มะม่วง
1.3. คำแผลงที่พยางค์หน้าของคำเดิมเป็น สะ- เพมื่อแผลง ส เป็น ต หรือ กร ให้คงวิสรรชนีย์ไว้ตามเดิม เช่น

สะเทือน แผลงเป็น กระเทือน
สะท้อน แผลงเป็น กระท้อน
สะใภ้ แผลงเป็น ตะใภ้
สะเภา แผลงเป็น ตะเภา
สะพัง แผลงเป็น ตะพัง
สะพาน แผลงเป็น ตะพาน
สะพาย แผลงเป็น ตะพาย
สะโพก แผลงเป็น ตะโพก
1.4. คำซึ่งมีวิสรรชนีย์อยู่แล้ว เมื่อแผลงคำโดยแทรก ร ให้คงวิสรรชนีย์ไว้ตามเดิม เช่น 
จะเข้ แผลงเป็น จระเข้
ชะง่อน แผลงเป็น ชระง่อน
ชะมด แผลงเป็น ชระมด
สะท้อน แผลงเป็น สระท้อน
สะพรั่ง แผลงเป็น สระพรั่ง
1.5. คำซ้ำเสียงในภาษาไทยซึ่งเป็นคำที่มีมาแต่โบราณ เมื่อพยางค์หน้ากร่อนเป็นเสียง อะ ให้ประวิสรรชนีย์
เช่น
ครื้นครื้น แผลงเป็น คะรื้น
คึกคึก แผลงเป็น คะคึก
แจ้วแจ้ว แผลงเป็น จะแจ้ว
รวยรวย แผลงเป็น ระรวย
ริกริก แผลงเป็น ระริก
รินริน แผลงเป็น ระริน
รื่นรื่น แผลงเป็น ระรื่น
เรื่อยเรื่อย แผลงเป็น ระเรื่อย
1.6. คำที่แผลงมาจากคำเดิมที่เป็นคำพยางค์เดียวมีพยัญชนะต้นเป็นอักษรควบกล้ำ แผลงเป็นคำ 2 พยางค์ 
โดยแทรก ร ให้ประวิสรรชนีย์ เช่น
กลบ แผลงเป็น กระลบ
กลอก แผลงเป็น กระลอก
กลับ แผลงเป็น กระลับ
กลาย แผลงเป็น กระลาย
กลั้ว แผลงเป็น กระลั้ว
เกลือก แผลงเป็น กระเลือก
1.7. คำในภาษาบาลีสันสกฤตที่พยางค์ท้ายออกเสียง อะ ให้ประวิสรรชนีย์ที่พยางค์ท้ายด้วย เช่น
ชาตะ ชีวะ ธุระ 
เถระ พละ ภาระ
มรณะ ลักษณะ ศิลปะ
สรณะ สาธารณะ อมตะ
อาชีวะ อิสระ
1.8. คำที่มาจากภาษาเขมรบางคำที่ใช้โดยมีวิสรรชนีย์มาแต่เดิมก็ให้คงวิสรรชนีย์ไว้ เช่น 
ระเบียบ ระเมียร ละออง
ระมาด ระหัด ระบำ 
ละมั่ง กระจาย กระดาน

และคำที่แผลงมาจาก ผ เป็น ประ ก็ประวิสรรชนีย์ เช่นเดียวกัน
ผกาย ประกาย
ผทม ประทม
ผจญ ประจญ
1.9. คำที่มาจากภาษาชวามลายูที่ออกเสียง “อะ” ต้องประวิสรรชนีย์เช่น
กะหมังกุหนิง กะหลาป๋า ตำมะหงง
ปะตาระกาหลา ปะหนัน มะเดหวี
ระเด่น ระตู สะตาหมัน
1.10. คำไทยที่มาจากภาษาอื่นๆให้ประวิสรรชนีย์ เช่น
ตะเลง (มอญ) ปะดุง (กษัตริย์พม่า)
เมาะตะมะ อังวะ
1.11. คำที่ไม่รุ้ที่มาของคำที่ออกเสียง อะ เต็มมาตราให้ประวิสรรชนีย์ เช่น
กะละมัง กะละแม จะละเม็ด
ปะวะหล่ำ มะละกอ ระฆัง
ระบอบ ระบัด ระบิล
ละไม สะระแหน่ สะอื้น
1.12. คำที่เขียนโดยประวิสรรชนีย์ที่มักเขียนผิด เช่น
ขะมักเขม้น ขะมุกขะมอม ขะเย้อเขย่ง
คะนอง คะน้า คะนึง คะเน
คะมำ คะยั้นคะยอ จะกละ จะกลาม
ฉะแง้ ชะตา ชะลอ ชะเง้อ
ชะลูด ชะอม ชะอ้อน ชะแลง
ตะกาย ตะกุกตะกัก ตะขบ ตะเพิด
ตะม่อ ตะลอน ตะลึง ตะบึง
ทะนาน ทะมัดทะแมง ทะยาน ทะเยอทะยาน
ทะลวง ทะลัก ทะลาย ทะลึ่ง
ทะเล้น ทวาย ทะนง ทะเล่อละล่า
พะนอ พะเน้าพะนอ พะแนง พะยอม
พะเยิบ พะวง พะอืดพะอม พะทำมะรง
ละบัด ละมั่ง ละมุน ละมุนละไม
ละล้าละลัง ละลาบละล้วง ละห้อย ละเอียด สะโอดสะออง
อะร้าอร่าม อะลุ่มอล่วย อะไหล่

ในการเขียนคำที่ประวิสรรชนีย์นี้มีคำที่มักจะเป็นปัญหาในการเขียนอยู่เสมอคือ คำที่เริ่มต้นพยางค์ด้วย
กระ กับ กะ เนื่องมาจากคำใช้ได้ทั้ง กระ และ กะ ซึ่งจะต้องจดจำเป็นคำๆไปดังนี้
1. คำที่ใช้เฉพาะ กระ- เช่น
กระเกรียว กระงกกระเงิ่น กระง่อนกระแง่น
กระจอนหู กระชัง กระเช้า 
กระโชก กระซู่ กระเทือน
กระแทะ กระบวน กระบอง
กระบือ กระป๋อหลอ กระผม
กระมอมกระแมม กระยาเสวย กระเย้อกระแหย่ง
กะลา กระวนกระวาย กระโวยกระวาย
กระแส กระหม่อม กระหย่อม
2. คำที่ใช้เฉพาะ กะ- เช่น
กะเกณฑ์ กะแช่ กะดำกะด่าง
กะต๊วก กะทัดรัด กะทันหัน
กะทิ กะทือ กะเทย
กะเทาะ กะแท้ กะบังลม
กะปริบกะปรอย กะปลกกะเปลี้ย กะปวกกะเปียก
กะป้ำกะเป๋อ กะเปิ้บกะป๊าบ กะโปโล
กะเผลก กะพง กะพรวดกะพราด
กะพร่องกะแพร่ง กะพริบ กะพรุน
กะพ้อ กะเพราะ กะร่องกะแร่ง
กะรุ่งกะริ่ง กะเร่กะร่อน กะล่อน
กะลา กะลิงปลิง กะหนุงกะหนิง
กะหลีหะหลอ กะหลุกกะหลิก กะเอว
3. คำที่ใช้ได้ทั้ง กะ- และ กระ – เช่น
กะเง้ากะงอด กะจก กะจ้อยร่อย กะจง
กะจิริด กะจุ๋มกะจิ๋ม กะเจิดกะเจิง กะแจะ
กะฉ่อน กะฉับกะเฉง กะเฉด กะชอน
กะชาย กะชุ่มกะชวย กะแชง กะซิบ
กะเซ็น กะแซะ กะด้ง กะด้าง
กะดี่ กะตุ้งกะติ้ง กะดุบกะดิบ กะเดียด
กระตือรือร้น กะตัก กะตุ้งกะติ้ง กะตุ้น
กะเตื้อง กะโตกกะตาก กะถิน กะเถิบ 
กะทง กระทะ กะทำ กะทิง 
กะทืบ กะทุ้ กะเทียม กะแทก
กะนั้น กะบวย กะบุง กะเป๋า กะพัน
กระเพาะ กะมิดกะเมี้ยน กะย่องกะแย่ง กะวาน
กะวีกะวาด กะสวย กะสาบ กะสาย
กะเสือกกะสน กะเส็นกะสาย กะหนาบ กะหืดกะหอบ
กะโห้ กะออม กะอ้อมกะแอ้ม กะไอ


2. การเขียนโดยไม่ประวิสรรชนีย์ 
การเขียนโดยไม่ประวิสรรชนีย์ หรือลดรูป- อะ หมายถึง การเขียนคำที่ออกเสียง อะ แต่ไม่มีรุฦปสระ อะ ปรากฏ
อยู่ เรียกโดยทั่วไปว่าการไม่ประวิสรรชนีย์มีหลักเกณฑ์กำหนดไว้ดังนี้
2.1 คำไทยที่ย่อมาจากคำอื่น เช่น
ธ ย่อมาจาก ท่าน เธอ ไท้
ทนาย ย่อมาจาก ท่านนาย แทนนาย
พนักงาน ย่อมาจาก ผู้นักงาน พ่อนักงาน
พนาย ย่อมาจาก พ่อนาย
ฯพณฯ ย่อมาจาก พณหัวเจ้าท่าน
2.2 คำมีพยัญชนะต้น 2 ตัวและออกเสียงพยัญชนะต้นตัวแรกไม่เต็มมาตรา เช่น
ขโมย คทา ฉมัง
ชนวน ชนะ ชอุ่ม
ทบวง ทแยง ทโมน
ทวาย พยศ สบาย
2.3 ถ้าคำเดิมไม่ประวิสรรชนีย์ เมื่อแผลงคำโดยการแทรก ร ก็ยัง คงไม่ประวิสรรชนีย์ เช่น
จวัก แผลงเป็น จรวัก
ตลบ แผลงเป็น ตรลบ
ตลอด แผลงเป็น ตรลอด
สนุก แผลงเป็น สรนุก
เสนาะ แผลงเป็น สรนุก
สลอน แผลงเป็น สรลอน
2.4 คำที่มาจากภาษาบาลีสันสกฤตที่ออกเสียง อะ ที่พยางค์หน้า ไม่ประวิสรรชนีย์ เช่น
กรณี คมนาคม ครุ
นครินทร์ สมรรถนะ อวสาน
2.5 คำที่มาจากภาษาบาลีสันสกฤตที่พยางค์ท้ายออกเสียง อะ
เมื่อสมาสกับคำอื่นและพยางค์นั้นไม่ได้เป็นพยางค์ท้าย ไม่ต้องประวิสรรชนีย์ เช่น
ธุระ + กิจ = ธุรกิจ
ภาระ + กิจ = ภารกิจ
พละ + การ = พลการ
ลักษณะ + นาม = ลักษณนาม
ศิลปะ + ศาสตร์ = ศิลปศาสตร์
สาธารณะ + สุข = สาธารณสุข
อิสระ + ภาพ = อิสรภาพ
2.6 คำที่มาจากภาษาเขมรที่ออกเสียง อะ ไม่เต็มมาตรา ไม่ประวิสรรชนีย์ เช่น
ขจร ขจี ขโมย
ฉกาจ ฉบัง ฉบับ
ชบา ชไม ผกา 
ผทม พนม พเยีย
ลออ สกัด สไบ
2.7 คำที่พยัญชนะต้นเป็นอักษรนำ แม้จะออกเสียง อะ ก็ไม่ประวิสรรชนีย์ เช่น
กนก ขนัด ขนาน 
ฉลัก ตลก ตลาด
ไถง ผนัง สมอง
สมาน สลวย ไสว
2.8 คำที่เขียนโดยไม่ประวิสรรชนีย์ที่มักเขียนผิด เช่น
กบี่ ขมุกขมัว ขมีขมัน ขยักขย่อน
ขยุกขยิก ขมุบขมิบ จราว ชนวน
ชนัก ชบา ชมดชม้อย ชม้าย
ชไม ตงิด ตนุ ตลึง
ตวัก ตวัด ทนาย ทโมน
ทลาย ทยอย ทแยง พนัง
พยัก พยับ พยุง พเยีย
มลัก มลังเมลือง มล้าง มลายู
ลดา ลมาด สกัด สตู
สบง สบู่ สมุลแว้ง สไบ
สวาด สวิง อเนก อเนจอนาถ


3. การเขียนคำที่ออกเสียง อำ 
คำในภาษาไทยที่ออกเสียง อำ มีวิธีเขียน 2 แบบ ใช้ อำ และใช้ อัม ซึ่งกำหนดไว้ดังนี้
3.1. การเขียนโดยใช้ อำ
3.1.1 คำไทยที่ออกกเสียง อำ ใช้ อำ เช่น
กำ ขำ คำ ค้ำ
คว่ำ จำ ชำ ดำ
ต่ำ ทำ ย่ำ รำ
ร่ำ ลำ ล้ำ ลำนำ
3.1.2 คำแผลงที่พยางค์หน้าออกเสียง อำ ใช้ อำ เช่น
ขจร แผลงเป็น กำจก
จ่าย แผลงเป็น จำหน่าย 
ช่วย แผลงเป็น ชำร่วย
ตรวจ แผลงเป็น ตำรวจ
ตฤษณา แผลงเป็น คำฤษณา
เถกิง แผลงเป็น ดำเกิง
ปราศ แผลงเป็น บำราศ
รวิ แผลงเป็น รำไพ
สราญ แผลงเป็น สำราญ
เสียง แผลงเป็น สำเนียง
3.1.3 คำที่มาจากภาษาต่างประเทศ ยกเว้นภาษาอังกฤษ เช่น
กำปั่น กำมะถัน กำมะหยี่
กำยาน กำลูน ฉนำ
ตำมะหงง บำเหน็จ บำเพ็ญ
สำปะหลัง สำปันนี ไหหลำ
ระกำ อำเภอ
3.1.4 คำภาษาบาลีสันสกฤตซึ่งออกเสียง อะ ที่พยางค์หน้า และมี ม ตาม เมื่อเปลี่ยนเสียง อะ เป็นอำ ใช้ อำ
เช่น
กมลาศน์ แผลงเป็น กำมลาศน์
อมาตย์ แผลงเป็น อำมาตย์
อมรินทร์ แผลงเป็น อำมรินทร์
อมร แผลงเป็น อำมร
อมฤต แผลงเป็น อำมฤต
อมหิต แผลงเป็น อำมหิต
3.2. การเขียนโดยใช้รูป -ม 
3.2.1 คำที่มาจากภาษาบาลีสันสกฤตซึ่งคำเดิมออกเสียง อะ และมี ม สะกด หรือพยัยชนะวรรค ปะ ตามหลัง
คำเดิม คำในภาษาไทย
กมพล กัมพล
กมปนาท กัมปนาท
คมภีร คัมภีร์
ปกีรณม ปกีรณัม
สมผสส สัมผัส
สมพรธ สัมพันธ์
สมภาษณ สัมภาษณ์
สมฤทธิ สัมฤทธิ์
สมปทาน สัมปทาน
อมพวน อัมพวัน
อุปถมภ อุปถัมภ์
3.2.2 คำที่มาจากภาษาต่างประเทศ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นคำที่มาจากภาษาตะวันตก ได้แก่ ภาษาอังกฤษ ฝรั่งเศส โปรตุเกส ที่ถ่ายเสียงมาจาก –am เช่น
กรัม กัมมันตรังสี
คอลัมน์ ทรัมเป็ต
ปั๊ม นัมเบอร์
ดัมมี่ มัมมี่
สลัม สัมบูรณ์
สัมมนา อัสสัม
นอกจากนี้มีภาษาเขมร เช่น กัมพุช กัมพูชา เป็นต้น


4. การเขียนคำโดยใช้ ซ และ ทร 
ในภาษาไทยมีคำอยู่จำนวนหนึ่งที่ออกเสียง "ซ" แต่เขียนเป็น 2 รูป คือ "ซ" และ
"ทร" หลักการใช้ "ซ"และ "ทร" มีดังนี้
1. คำไทยแท้ที่ออกเสียง ซอ มักใช้ "ซ" เช่น ซด ซน ซบ ฯลฯ
2. คำที่รับมาจากภาษาเขมรซึ่งในภาษาเดิมใช้ ชร ไทยใช้รูป "ทร"
และออกเสียง "ซอ" เช่น ทรง ทรวง ทรามฯลฯ
3. คำที่รับมาจากภาษาสันสกฤตซึ่งในภาษาเดิมใช้ ทร ไทยใช้รูป "ทร"
และออกเสียง "ซอ" เช่น ทรัพย์ พุทรา ฯลฯ
4. คำที่มาจากภาษาต่างประเทศอื่นๆ ที่ออกเสียงซอ ใช้ "ซ" เช่น
เซียมซี ซ่าหริ่ม ซุป เซลล์ ฯลฯ


5. การเขียนคำโดยใช้ ณ และ น 
ในภาษาไทยมีรูปพยัญชนะ ณ และ น เป็นพยัญชนะที่เป็นเสียงเดียวกัน แต่เนื่องจาก ณ
เป็นพยัญชนะเดิมจึงใช้เขียนคำที่มาจากภาษาบาลีสันสกฤต ส่วน น
เป็นพยัญชนะกลางจึงใช้เขียนคำในภาษาไทยและภาษาอื่นๆ ทั่วไป
5.1. การใช้ ณ
5.1.1 ใช้เขียนคำภาษาบาลีสันสกฤตโดยทั่วๆไปทั้งที่เป็นพยัญชนะต้นและพยัญชนะสะกด เช่น ล
พยัญชนะต้น – คณิกา คเณศ คณะ ธนาณัติ
ปณิธาน พานิช พาณิชย์ พาณี
พยัญชนะสะกด – กัณหา กสิณ คำนวณ ญาณ
บัณเฑาะ บิณฑบาต ปฎิภาณ
ปัจเวกขณ์ ทักษิณ
5.1.2 ใช้ ณ ตามหลัง ร ฤ ษ เมื่อ ณ มีรูปสระ หรือเสียงสระกำกับ ดังนี้
ณ ตามหลัง ร เช่น
กรณี การณ์ กรุณา
กรรณิการณ์ ทัศนูปกรณ์ แถลงการณ์
ธรณี บรรณสาร บูรณะ
ปฎิสังขรณ์ พิจารณา พยากรณ์
พอรุณ มรณะ มหรรณพ
วรรณะ วารุณี วิจารณ์

ณ ตามหลัง ฤ เช่น
ตฤณมัย ตฤณชาติ

ณ ตามหลัง ษ เช่น
กฤษณา โฆษณา ดุษณี
ดำฤษณา ตฤษณา
5.1.3 ใช้ ณ ตามหลัง ร ฤ ษ ในกรณีที่มีสระและพยัญชนะวรรค กะ วรรค ปะ ย ว ห คั่นอยุ่ เช่น
กษาปณ์ เกษียณ จักรปาณี
ตรีโกณ นารายณ์ บริเวณ
บริคณห์ ปริมาณ ปารณี
พราหมณ์ พราหมณี มหาภิเนษกรมณ์
เอราวัณ อารมณ์
1.4 แม้ว่าคำเดิมจะใช้ น แต่ถ้านำคำนั้นมาประกอบคำใหม่ตามหลัง ร ก็ต้องเปลี่ยนมาใช้ ณ เช่น
ปริ + นายก – ปรินายก
ประ + หาน – ประหาณ
ประ + มาน – ประณาม
ประ + มาน – ประมาณ
ประ + นม – ประณม
5.2. การใช้ น
5.2.1 การเขียนคำในภาษาไทยทั้งที่ใช้เป็นพยัญชนะต้นและพยัญชนะสะกด เช่น
นาก นอน นิ่ง
นิ่ม เนย แน่น
โน่น นอน แนบ
โยน ร้อน ลน
วาน สอน หอน
5.2.2 ใช้เขียนคำภาษาบาลาสันสกฤตตามลักษณะเดิม เช่น
กฐิน กนก กันดาร
ขันธ์ ขินติ คมนาคม
คัดนา คิมหันต์ จันทร์
ฉัททันต์ ชนม์ ชนินทร์
ฐาน เดรัจฉาน ทัศนาจร
นวรัตน์ เทศนา ปนัดดา
ปัจจุบัน ไพชยนต์ อจินไตย
5.2.3 ใช้ตามหลัง ร ฤ ษ เมื่อทำหน้าที่เป็นพยัญชนะสะกด เช่น
กริน คฤนถ์ ปักษิน คฤนท์
5.2.4 ใช้เขียนคำภาษาต่างประเทศอื่นๆที่ไม่ใช่ภาษาสันสกฤต เช่น
น้อยหน่า ปั้นเหน่ง รำมะนา กระยาหงัน
ระเด่น กำนัน ตานี กานพลู 
เขนย จังหัน ระเบียน กำเนิด 
ปสาน สนม ส่าน ขันที
หญ้าฝรั่น กิโมโน ตะบัน กำปั่น
กัปตัน แกรนิต คลอรีน ชิมแปนซี
ซีเมนต์ เซ็น เซนติเมตร เซียน
แซ็กคาริน ไซเรน ไซยาไนด์ ไดนาโม


6. การเขียนคำโดยใช้ ศ ษ ส 
พยัญชนะ ศ ษ ส มีใช้ในภาษาไทยทั้ง สาม รูป แต่ที่ใช้เขียนคำไทยและคำภาษาบาลีมีเพียง 1 รูป คือ ส
ส่วนในสันสกฤตมีทั้ง 3 รูป การเขียนคำให้ถูกต้องพิจารณาตามหลักเกณฑ์ ดังนี้
6.1. คำไทยทั่วๆ ไปใช้ ส เช่น
สอง สิบล แสน
สด สับ สอด 
เสือ แสน เสีย

มีคำไทยบางคำที่ใช้ ศ และ ษ เช่น
ศอ เศิก สึก
ศอก เศร้า ฝรั่งเศส
อังกฤษ กระดาษ ฝีดาษ ดาษดา
6.2. คำที่มาจากภาษาบาลีใช้ ส ทุกคำ เนื่องจากในภาษาบาลีไม่มี ศ ษ เช่น
สกนต์ สงสาร สัณฑ์
สติ สนทนา สภาพ
สมถะ สมโภช สมัญญา
สมิทธิ สามี สังขาร
สัมภเวสี สัมมา สาโลหิต
สิงคาร สินิทธิ์ สิริ
6.3. ใช้ ศ ษ ส เขียนคำที่มาจากภาษาสันสกฤตซึ่งใช้ในคำทั่วๆไปและคำที่ใช้มีข้อกำหนดเฉพาะ
6.3.1 คำทั่วๆไป
คำที่ใช้ ศ เช่น
กุศล เชือกบาศก์ ประกาศ
ประศาสน์ ศนิ ศยามล
ศัพท์ ศรัทธา ศฤงคาร
ศุภมัสดุ ศักราช ศึกษานิเทศก์
โศกศัลย์ อากาศ อาศรม
คำที่ใช้ ษ เช่น
เกษตร กษัตริย์ กษาปณ์
โฆษก จักษุ ชันษา
ชีพิตักษัย นิษาท บุษบก
ปักษี กักษา ฤาษี
คำที่ใช้ ส
มนัส พาสน์ สรรพ
สรรเพชญ สกนธ์ สังเกต
สงกรานต์ สวามี สัตย์
สัทศาสตร์ สัมฤทธิ์ สามานย์
สาวิตรี สุภาษิต เสน่ห์
6.3.2 คำที่มีข้อกำหนดเฉพาะ 
6.3.2.1. ใช้ ศ นำหน้าพยัญชนะวรรค จะ คือนำหน้า จ ฉ ช ณ ญ เนื่องจาก ศ
เป็นเศษวรรคของพยัญชนะนี้คืออนุโลมว่ามีฐานที่เกิดเดียวกัน เช่น
ปรัศจิม พฤศจิกายน
อัศจรรย์ อัศเจรีย์
6.3.2.2. ใช้ ษ นำหน้า พยัญชนะวรรคฎะ คือนำหน้า ฎ ฐ ฑ ผ ณ 
เนื่องจากเป็นเศษวรรคของพยัญชนะวรรคนี้คืออนุโลมว่ามีฐานที่เกิดเดียวกัน เช่น
กฤษณา กฤษฎีกา ขนิษฐา
เชษฐา ทฤษฎี ปฟษฏางค์
ประดิษฐ์ ประดิษฐาน ไปรษณีย์
ราษฎร อุกฤษฎ์ อุษณีย์
6.3.2.3. ใช้ ส นำหน้าพยัญชนะวรรคตะ คือนำหน้า ต ถ ท ธ น เนื่องจาก ส 
เป็นเศษวรรคของพยัญชนะนี้คืออะนุโลมว่ามีฐานที่เกิดเดียวกัน เช่น
พัสดุ พิสดาร ภัสดา
พัสตรา สดมภ์ สดุดี
สตรี สตางค์ สถล
สถาน สถานี สถาบก
สถาบัน สถาปนิก สถิติ
สนเทศ สนธยา อัสดง
6.3.2.4. คำที่มาจากภาษาต่างประเทศ ยกเว้นภาษาบาลีสันสกฤตที่ถ่ายเสียงมาจาก s ส่วนใหญ่ ส 
แต่มีบางคำที่ถ่ายเสี่ยงมาจาก c ใช้ ศ ตัวอย่าง
ภาษาเขมร - เสด็จ สมเด็จ สำรวจ
สำเร็จ สำคัญ เสวย
สลา ผสาน สำราญ
ภาษาอังกฤษ – แก๊ส คอมมิวนิสต์
ซุโครส เซลลูโลส
เซลเซียส โบนัส
สตัฟฟ์ สตู
สปริง สัมมนา
เสริร์ฟ แสตมป์
คำที่ใช้ ศ เช่น
ศิวิไลซ์ ไอศกรีม ออฟฟิศ


7. การเขียนคำที่ออกเสียง อัน 
คำที่ออกเสียง “อัน” ที่มักทำให้เขียนผิดอยุ่เสมอคือคำที่ใช้ –น และคำที่ใช้ รร คำที่ใช้ –น
เป็นคำที่เขียนโดยการแปลงรูปสระ อะ เป็น – เนื่องจากมีพยัญชนะสะกด ส่วน รร
มาจากการแผลงคำทั้งในภาษาไทยและภษาสันสกฤต ซึ่งมีหลักพอสังเกตได้ดังนี้
7.1. การใช้ “อัน”ในกรณีคำ “กัน และ บัน”
7.1.1 คำ “กัน” ใช้ในคำไทย เช่น
กรรไกร กันเกรา
กันเชอ กันภัย
กันแสง กันตัง
7.1.2 คำ “บัน” ซึ่งเป็นพยางคืหน้าของคำที่แผลงมาจาก “บํ”ในภาษาเขมรเมื่อไทยรับมาแผลง บํ เป็นบัน เช่น
บันกวด บันจวบ บันคาล
บันได บันเดิน บันดล
บันโดย บันทึก บันทึง
บันเทิง บันเหิน บันโหย
7.2. การใช้ รร
7.2.1 ใช้เขียนคำไทยที่แผลงมาจากคำอื่น ดังนี้
7.2.1.1. คำที่แผลงมาจาก กระ แผลงเป็น กรร เช่น
กระเจียก แผลงเป็น กรรเจียก
กระชิง แผลงเป็น กรรชิง
กระแชง แผลงเป็น กรรแชง
กระเช้า แผลงเป็น กรรเช่า
กระเชียง แผลงเป็น กรรเชียง
กระโชก แผลงเป็น กรรโชก
กระแทก แผลงเป็น กรรแทก
กระพุ่ม แผลงเป็น กรรพุ่ม
กระลึง แผลงเป็น กรรลึง
กระหาย แผลงเป็น กรรหาย
7.2.1.2. คำที่แผลงจาก คระ- เป็น ครร- โดย คระ- จะแผลงมาจากคำพยางค์ที่มีพยัญชนะต้นเป็น คล- เช่น
คลอง แผลงเป็น คระ ลอง แผลงเป็น ครรลอง
โคลง แผลงเป็น คระโลง แผลงเป็น ครโลง
ไคล แผลงเป็น คระไล แผลงเป็น ครรไล
7.2.1.3. คำที่แผลงมาจาก ประ- เป็รน บรร- เช่น
ประกวด แผลงเป็น บรรกวด
ประจวบ แผลงเป็น บรรจวบ
ประเจิดประจง แผลงเป็น บรรเจิดบรรจง
ประดา แผลงเป็น บรรดา
ประทม แผลงเป็น บรรทม
ประทัด แผลงเป็น บรรทัด
ประทุก แผลงเป็น บรรทุก
ประสาน แผลงเป็น บรรสาน
7.2.1.4. คำบางคำที่พยางค์หน้าออกเสียง อะ ก็สามารถแผลงเป็น รร ได้ เช่น
เผอิญ แผลงเป็น พรรเอิญ
ละลุง แผลงเป็น ลรรลุง
สรเสริญ แผลงเป็น สรรเสริญ
7.2.2 ใช้เขียนคำภาษาสันสกฤตที่แผลงมาจาก ร (รอเรผะ) เป็น รร ในภาษาไทย แล้วอ่านออกเสียง อะ 
มีพยัญชนะสะกด เช่น
กรม แผลงเป็น กรรม
จรยา แผลงเป็น จรรยา
ครชิต แผลงเป็น ครรชิต
บรวต แผลงเป็น บรรพต
บวรชิต แผลงเป็น บรรชิต
ภรชิต แผลงเป็น บรรชิต
ภรตา แผลงเป็น ภรรดา
มรยาท แผลงเป็น มรรยาท
วรค แผลงเป็น วรรค
สรว แผลงเป็น สรรพ
สมรถ แผลงเป็น สมรรถ
อรณว แผลงเป็น อรรณพ
คำที่มี ร เดิมแม้จะมีสระอยุ่หน้า ร ก็สามารถแผลงเป็น รร ได้ดังตังอย่าง
ปรว แผลงเป็น บรรพ์
ภารยา แผลงเป็น ภรรยา
มารค แผลงเป็น มรรคา
และคำบางคำในภาษาบาลี สันสกฤต ที่ไม่ใช้ ร แต่สามาครถแผลง เป็น รร ได้ ซึ่งจะต้องจำเป็นดำๆไป 
เช่น
ขดด ขฑค แผลงเป็น ขรรค์
ปริหาร แผลงเป็น บรรหาร
ปจจถรณ แผลงเป็น บรรจรณ์


8. การใช้รูปวรรณยุกต์ 
วรรณยุกต์
อักษร 3 หมู่ นั้นใช้ผันวรรณยุกต์ โดยที่เราจะแบ่งวรรณยุกต์ออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ
8.1. วรรณยุกต์มีรูป หมายถึงวรรณยุกต์ที่มีเครื่องหมายบอกระดับของเสียงให้เห็นชัดเจนอยู่ เบื้องบนอักษร
มีอยู่ 4 รูปคือ วรรณยุกต์ เอก , วรรณยุกต์ โท วรรณยุกต์ ตรี , วรรณยุกต์ จัตวา โดยลำดับ
และให้เขียนไว้เบื้องบนอักษรตอนสุดท้ายเช่น ก่ ก้ ก๊ ก๋ ปั่น ปั้น ลื่น เลี่ยน เป็นต้น
ถ้าเป็นอักษรควบหรืออักษรนำให้เขียนไว้เบื่องบนอักษรตัวที่ ๒ เช่น ครุ่น คลื่น เกลื่อน เกล้า ใกล้
เสน่ห์ หมั่น โกร๋น ฯลฯ รูปวรรณยุกตืนี้เริ่มใช้ขึ้นตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย แต่มีใช้อยู่เพียง 2
รูปเท่านั้นคือ ไม้เอก กับไม้โท แต่ไม่โทในสมัยนั้นเขียนเป็นรูปกากบาท ( + ) เหมือนไม้ตรีในปัจจุบัน
ต่อมาในปลายสมัยกรุงสุโขทัยจึงได้เปลี่ยนรูปกากบาทมาเป็นรูปไม้โทเช่นปัจจุบัน
ส่วนไม่ตรีกับไม่จัตวายังไม่มีใช้ น่าจะเพิ่มมีใช้เมื่อตอนปลายสมัยกรุงศรีอยุธยา
และคงจะได้คิดสำหรับใช้เขียนคำที่มาจากภาษาจีนเป็นมูลเหตุ
ดังปรากฎคำเขียนอยู่ในกฎหมายศักดินาพลเรือนซึ่งมีคำเขียนเป็นภาษาจีนที่ใช้ไม้ตรีและจัตวากำกับอยู่หลายชื่อ
เช่น จุ้นจู๊ - นายสำเภา , บั๋นจู๊ - พนักงานซ่อมแปลงสำเภา เป็นต้น
ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชหรือก่อนนั้นขึ้นไปก็ยังไม่มีวรรณยุกต์ตรี หรือวรรณยุกต์จัตวาใช้
ข้อนี้มีหลักฐานยืนยันอยู่ในหนังสือจินดามณี ซึ่งเป็นตำราสอนหนังสือไทยที่พระโหราแต่งขึ้นในสมัยนั้น
มีโคลงบอกวรรณยุกต์ไว้บทหนึ่งว่า 
    สมุหเสมียนเรียนรอบรู้ วิสัญช์
    พินเอกพินโททัณ ฑฆาตคู้
    ฝนทองอีกฟองมัน นฤคหิต นั้นนา 
    แปดสิ่งนี้ใครรู้ จึงให้เป็นเสมียน
ข้อความในโคลงบทนี้แสดงให้เห็นว่า แม้สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชก็ยังไม่มีรูปวรรณยุกต์ตรี และ
วรรณยุกต์จัตวาใช้ ถ้ามีใช้คงจะได้ปรากฎอยู่ในโคลงบทนี้ เพราะเป็นตำราเรียนอยู่ในสมัยนั้น 


8.2. วรรณยุกต์ไม่มีรูป ได้แก่เสียงที่มีทำนองสูงต่ำตามหมวดหมู่ของตัวอักษร
โดยไม่ต้องมีรูปวรรณยุกต์กำกับก็อ่านออกเสียงได้เหมือนมีรูปวรรณยุกต์กำกับอยู่ด้วยเช่น นา หนะ นาก นะ
หนา ฯลฯวรรณยุกต์ไม่มีรูปต่างกับวรรณยุกต์ที่มีรูปคือ
วรรณยุกต์ที่มีรูปจะต้องมีเครื่องหมายบอกเสียงกำกับอยู่บนตัวอักษร และมีเพียง 4 เสียงเท่านั้นคือ
เสียงเอก เสียงโท เสียงตรี เสียงจัตวา ตามรูปวรรณยุกต์แต่ไม่มีเสียงสามัญ
ส่วนวรรณยุกต์ไม่มีรูปจะมีครบทั้ง 5 เสียงเต็มตามจำนวนเสียงที่กำหนดใช้อยู่ในภาษาไทย
โดยไม่มีเครื่องหมายบอกเสียงกำกับ แต่อาศัยการออกเสียงตามหมู่ของอักษรทั้ง 3 เสียงของวรรณยุกต์ทั้ง 5
เรียงลำดับจากต่ำไปหาสูง ดังนี้
    เสียงเอก
    เสียงโท
    เสียงสามัญ
    เสียงตรี
    เสียงจัตวา
แต่ในการผันอักษร ให้เสียงสามัญ ( เสียงที่ 4 ) เป็นเสียงนำ

วิธีผันอักษร 3 หมู่
อักษร 3 หมู่ ที่เรียกว่า " ไตรยางค์ " นั้น ใช้ผันรูปวรรณยุกต์ต่าง ๆ กันดังนี้ 


อักษรกลาง ผันด้วยวรรณยุกต์ เอก วรรณยุกต์ โท วรรณยุกต์ ตรี วรรณยุกต์ จัตวา 
คำเป็นผันได้ 5 คำ คำตายผันได้ 4 คำ 
คำเป็น พื้นเสียงเป็นเสียงสามัญ เช่น กา กง กน กม เกย กาว 
ผันด้วยวรรณยุกต์เอกเป็นเสียงเอก เช่น ก่า ก่ง ก่น ก่ม เก่ย ก่าว 
ผันด้วยวรรณยุกต์โทเป็นเสียงโท เช่น ก้า ก้ง ก้น ก้ม เก้ย ก้าว 
ผันด้วยวรรณยุกต์ตรีเป็นเสียงตรี เช่น ก๊า ก๊ง ก๊น ก๊ม เก๊ย ก๊าว 
ผันด้วยวรรณยุกต์จัตวาเป็นเสียงจัตวา เช่น ก๋า ก๋ง ก๋น ก๋ม เก๋ย ก๋าว 
คำตาย พื้นเสียงเป็นเสียงเอก เช่น กะ กก กด กบ กาก กาด กาบ 
ผันด้วยวรรณยุกต์โทเป็นเสียงโท เช่น ก้ะ ก้ก ก้ด ก้บ ก้าก ก้าด ก้าบ
ผันด้วยวรรณยุกต์ตรีเป็นเสียงตรี เช่น ก๊ะ ก๊ก ก๊ด ก๊บ ก๊าก ก๊าด ก๊าบ
ผันด้วยวรรณยุกต์จัตวาเป็นเสียงจัตวา เช่น ก๋ะ ก๋ก ก๋ด ก๋บ ก๋าก ก๋าด ก๋าบ


อักษรต่ำ ผันด้วยวรรณยุกต์ เอก วรรณยุกต์ โท 
คำเป็นผันได้ 3 คำดังนี้
คำเป็น พื้นเสียงเป็นเสียงสามัญ เช่น คา คง คน คม เคย คาว 
ผันด้วยวรรณยุกต์เอกเป็นเสียงโท เช่น ค่า ค่ง ค่น ค่ม เค่ย ค่าว 
ผันด้วยวรรณยุกต์โทเป็นเสียงตรี เช่น ค้า ค้ง ค้น ค้ม เค้ย ค้าว 

คำตาย ผันได้ 3 คำ ใช้วรรณยุกต์ เอก วรรณยุกต์ โท วรรณยุกต์ จัตวา 
แบ่งออกเป็น 2 ชนิด ดังนี้ 
คำตายสระสั้น พื้นเสียงเป็นตรี เช่น คะ คก คด คบ 
ผันด้วยวรรณยุกต์เอกเป็นเสียงโท เช่น ค่ะ ค่ก ค่ด ค่บ 
ผันด้วยวรรณยุกต์จัตวาเป็นเสียงจัตวา เช่น ค๋ะ ค๋ก ค๋ด ค๋บ 
คำตายสระยาว พื้นเสียงเป็นโท เช่น คาก คาด คาบ 


อักษรสูง ผันด้วยวรรณยุกต์ เอก และ วรรณยุกต์ โท 
คำเป็นผันได้ 3 คำ คำตายผันได้ 2 คำดังนี้ 
คำเป็น พื้นเสียงเป็นเสียงจัตวา เช่น ขา ขง ขน ขม เขย ขาว 
ผันด้วยวรรณยุกต์เอก เป็นเสียงเอก เช่น ข่า ข่ง ข่น ข่ม เข่ย ข่าว 
ผันด้วยวรรณยุกต์โทเป็นเสียงโท เช่น ข้า ข้ง ข้น ข้ม เข้ย ข้าว 

คำตาย พื้นเสียงเป็นเสียงเอก เช่น ขะ ขก ขด ขบ ขาก ขาด ขาบ 
ผันด้วยวรรณยุกต์โทเป็นเสียงโท เช่น ข้ะ ข้ก ข้ด ข้บ ข้าก ข้าด ข้าบ
 
การเขียนคำหรือการสะกดคำในภาษาไทยมีหลักเกณฑ์ที่ต้องศึกษาทำความเข้าใจหลายหลักเกณฑณ์ ดังนี้


1. การเขียนคำที่ออกเสียง อะ

2. การเขียนคำที่ออกเสียง อำ

3. การใช้ ณ น

4. การใช้ ศ ษ ส

5. การใช้ ณ

6. การเขียนคำโดยใช้ ศ ษ ส

7. การเขียนคำที่ออกเสียง  อัน

8. การใช้รูปวรรณยุกต์
 
 
 

 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น