^_^

รูปสวย glitter emoticon comment glitter.mthai.com

วันเสาร์ที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2556

นางในวรรณคดี

 
นางในวรรณคดี
 
 
 
 
นางนพมาศ
 
 นางนพมาศ เป็นสตรีมีชื่อกึ่งตำนาน กึ่งประวัติ ไม่แน่ชัดว่าเป็นบุคคลจริง ตามเรื่องเล่า นางนพมาศเป็นธิดาพราหมณ์โชตรัตน์กับนางเรวดี พราหมณ์โชตรัตน์รับราชการในสมเด็จพระร่วงเจ้าแห่งกรุงสุโขทัย ตำแหน่งพระศรีมโหสถ มีหน้าที่ดูแลกิจการตกแต่งพระนครจัดงานพระราชพีสิบสองเดือน พระศรีมโหสถให้ธิดาเล่าเรียนวิชาการต่างๆ ทั้งอ่านเขียน ภาษาไทย ภาษาสันสกฤต คัมภีร์ต่างๆ ตำราโหราศาสตร์ ดาราศาสตร์ ทั้งยังให้หัดแต่งบทร้อยกรอง ท่องสุภาษิตต่างๆ เรียนรู้ถึงพระราชพิธีสิบสองเดือน  งานของสตรีมิได้ละเลย นางนพมาศมีความสามารถในการร้อยมาลัย  แกะสลักผลไม้ต่างๆ สติปัญญาดี หน้าตางดงาม เป็นที่เลื่องลือว่าถึงพร้อมด้วยรูปสมบัติ ปัญญาสมบัติ และทรัพย์สมบัติ จนมีผู้แต่งเพลงขับยอเกียรตินพมาศไปทั่ว
    วันหนึ่ง หญิงขับร้องในพระราชวังได้ขับเพลงพิณยอเกียรตินางนพมาศขึ้น พระร่วงได้ทรงสดับจึงสนพระทัยไถ่ถามขึ้น ท้าวจันทรนาถภักดี นางพระกำนัลผู้ใหญ่จึงกราบบังคมทูลว่า นางนพมาศนี้มีตัวตนจริง เป็นธิดาพระศรีมโหสถ จึงโปรดให้นำนางขึ้นถวายตัวเป็นพระสนม ขณะนั้นนพมาศอายุได้ 17 ปี แต่ถ้านับตามเดือนอายุเพียง 15 ปี 8 เดือน กับ 24 วัน
    นางนพมาศมีความรู้และขยันประดิษฐ์คิดทำสิ่งต่างๆ ไม่อยู่เฉย เมื่อถึงพระราชพิธีจองเปรียงในวันเพ็ญเดือนสิบสอง นางก็คิดทำโคมเป็นรูปดอกบัว ตกแต่งด้วยผลไม้แกะสลักเป็นรูปนกยูง หงส์ และสัตว์สวยงามอื่นๆ เป็นที่ต้องพระราชหฤทัย จึงโปรดให้ทำกระทงรูปดอกโกมุทหรือดอกบัวบูชา และนิยมทำสืบต่อมาในงานลอยพระประทีป ที่เรียกกันว่างานลอยกระทงนั่นเอง
    นอกจากกระทงรูปดอกบัวแล้ว นางนพมาศยังได้คิดทำพานขันหมาก ร้อยดอกไม้เป็นรูปพานสองชั้นรองขันตัวพานสองชั้นใช้ดอกไม้สีเหลือง ซ้อนสลับประดับดอกไม้สีแดงสีขาวและสีอื่นๆประสานกันเป็นระบาย ใส่หมากที่อบจนหอม มีตาข่ายดอกไม้คลุม ถวายสมเด็จพระร่วงเจ้าทรงใช้ในพระราชพิธีสนานใหญ่ นั่นคือพิธีเดือน 5 ทรงออกรับเครื่องราชบรรณาการที่บรรดาท้าวพระยาเมืองขึ้น ขุนนาง เศรษฐี และผู้มีตระกูลต่างๆนำมาถวาย พานขันหมากนี้ใส่หมากที่พระร่วงเจ้าทรงหยิบพระราชทานแก่ผู้มาเข้าเฝ้า เมื่อทอดพระเนตรเห็นพานดอกไม้ของนางนพมาศก็โปรดว่างาม ควรเป็นแบบอย่างในแผ่นดินต่อไป และพระราชทานพานขันหมากสำหรับพระมหาอุปราช เป็นเกียรติแก่นางนพมาศ รับสั่งว่าต่อไปผู้ใดจะทำพิธีมงคลให้จัดพานขันหมากตามแบบของนางนพมาศนี้สืบไป
    ถึงเดือน 8 มีพระราชพิธีเข้าพรรษา นางนพมาสก็คิดทำพนมพระวรรษา คือพุ่มดอกไม้ทองตกแต่งงดงามสำหรับบูชาพระ เป็นแบบอย่างสืบมา
นางนพมาสรับราชการเป็นที่โปรดปราน จึงได้รับพระราชทานตำแหน่งเป็นพระสนมเอกขนานนามว่า ท้าวศรีจุฬาลักษณ์ เชื่อกันว่านางได้แต่งหนังสือตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์ ว่าด้วยประวัติของตนเองและเกี่ยวกับพระราชพิธีพราหมณ์ คือพระราชพิธี 12 เดือน ไว้อย่างละเอียดแต่หนังสือตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์นี้ยังมีข้อโต้แย้งอยู่ว่า อาจจะไม่ใช่หนังสือที่แต่งในสมัยสุโขทัยจริง เพราะภาษาและข้อความหลายอย่างน่าจะอยู่ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ประมาณรัชกาลที่3 ข้อถกเถียงนี้ยังไม่เป็นที่ยุติ ตำราประวัติวรรณคดีปัจจุบันยังจัดให้เป็นวรรณคดีในสมัยสุโขทัย สมเด็จพระร่วงเจ้าในหนังสือเล่มนี้ น่าจะเป็นพระเจ้าลิไท ผู้ทรงพระราชนิพนธ์ไตรภูมิพระร่วง
    มีข้อสันนิษฐานที่พอจะเชื่อได้ว่า เดิมทีคงมีหนังสือตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์จริง เพราะรายละเอียดพระราชพิธีเป็นแบบแผนอย่างเก่าก่อนสมัยกรุงศรีอยุธยา นักโบราณคดีถือว่ามีคุณค่าแต่ฉบับเดิมคงจะสูญหายไปมากจึงมีผู้แต่งเพิ่มเติมขึ้นในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ แต่ผู้แต่งใหม่มิได้ระมัดระวังข้อเท็จจริงเท่าที่ควร จึงมีข้อบอกพร่องให้สังเกตได้หลายแห่ง
    ชื่อนางนพมาศนี้จึงปรากฏมาในปัจจุบัน ถึงวันขึ้นสิบห้าค่ำเดือนสิบสอง ก็มีงานลอยกระทง มีการประกวดนางนพมาศกันมาจนถึงทุกวันนี้
 
 
 นางสาวิตรี
สาวิตรี นั้นเป็นบุตรของมหาราชอัชวาปตี มหารานีมัลวี ซึ่งมหาราชอัชวาปตีนั้น ไม่มีบุตรชายเลย จึงได้ทำพิธีภาวนาต่อพระแม่มาเตสวาตี (พระแม่กายาตรี) มาถึง 16 ปี จนพระแม่มาประทานพรให้ แต่เนื่องจากในโชคชะตาของมหาราชนั้น ไม่ได้มีพรของบุตรชายเลย พระแม่จึงได้มอบบุตรสาวที่เก่งกาจสามารถ มีสติปัญญา และรูปโฉมอันงดงามให้ เทวฤษีนารัทมุนีได้ตังชื่อให้เด็กน้อยว่า สาวิตรี สาวิตรีเป็นคนที่ฉลาดและงดงามมาก จนไม่มีชายใดกล้ามาสู่ขอ มหาราชอัชวาปตีจึงได้มอบหมายให้นางออกหาสามีเอง 
          สาวิตรี ได้เดินทางไปหลายเมืองจนมาถึงเมืองของมหาราชจันทราเซ น มาดันราชกุมารของมหาราชนั้นเป็นคนที่เลวร้ายมาก มักมากในกามคุณและไม่ให้เกียรติสตรีเลย เขาได้เข้ามาเพื่อที่หมายจะย่ำยี แต่สาวิตรีได้หลอกมาดันแล้วทำพิธีผูกรัคชิด เพื่อให้มาดันกลายเป็นพี่ชายของตน มาดันได้กล่าวคำอาฆาตกับสาวิตรีไว้ สาวิตรีจึงหมดหวังที่จะหาสามีตามที่พ่อและแม่ได้มอบห มายไว้ นางจึงออกเดินเพื่อหย่อนอารมณ์ พลันก็ได้ยินเสียงตัดไม้ นางจึงแอบเข้าไปดูก็พบกับชายรูปงามกำลังต่อเถียงกับน างยักษ์ที่เข้ามาพัวพัน โดยที่นางยักษ์กล่าวชักชวนให้ชายผู้นั้นมาร่วมหลับนอ นด้วย ชายคนนั้นจึงกล่าวกับนางยักษ์ว่า ความอายเป็นคุณสมบัติของสตรี หญิงใดที่ไม่มีคุณสมบัตินี้ก็สมควรที่จะตายไป นางยักษ์จึงกลับไปด้วยความผิดหวัง แต่คำนี้เองที่ทำให้สาวิตรีหลงใหล ใน ขณะที่นางซุ่มอยู่ในพุ่มไม้นั้นพลันก็ปรากฏเสือตัวให ญ่ไล่กวดนาง ชายหนุ่มจึงได้เข้ามาช่วยนางโดยที่ขว้างขวานเข้าที่ค อเสือ และในขณะเดียวกัน มาดันก็เข้ามาแล้วยิงธนูเข้าที่หลังเสือ เมื่อชายหนุ่มเข้ามาหาสาวิตรี มาดันก็ได้เข้ามากล่าวคำหยาบช้าต่อสาวิตรี ชายหนุ่มจึงได้เข้าต่อสู้เพื่อปกป้องสาวิตรีไว้ สาวิตรีตกหลุมรักชายหนุ่มมากขึ้น มหามนตรีสุเกรชีเข้ามาหลังจากที่เขาได้ไล่มาดันไปแล้ ว เขาแนะนำตัวเองว่า ชื่อพระสัตยวานเป็นบุตรของอดีตมหาราชจันทราเซนซึ่งตา บอด มหามนตรีสุเกรชีจึงได้เข้าไปสู่ขอสัตตีอาวารกับอดีตม หาราช แต่มหาราชไม่ยอมรับในเรื่องนี้ สาวิตรีจึงได้เข้าไปกล่าวกับอดีตมหาราชเอง ทำให้ทั้งมหาราชและมเหสียินยอม 
          ในขณะที่งานมงคลจะเกิดขึ้นนั้น พระนารทพรหมฤษีก็ได้เดินทางมาเพื่ออวยพร แต่ระหว่างทางได้พบกับพระยมราช พระยมราชจึงได้แจ้งว่า พระสัตยวานนั้นเหลืออีกเพียง 1 ปี เมื่อสาวิตรีรู้ข่าวจากพระฤษีนั้น นางก็มั่นคงในคำพูดจึงได้เข้าพิธีสมรสกับสัตตีอาวาร โดยที่ไม่ฟังคำค้านจากบิดามารดาเลย นางได้เข้าไปภาวนาต่อพระแม่มาเตสวตี พระแม่มาเตสวตีจึงได้แนะนำนางให้ถือศีลอดอาหารอย่างเ คร่งครัดในสามวันก่อน ครบกำหนดและในวันที่สี่ให้ภาวนา เพื่อขอพรพระเจ้าให้กับพระสัตยวาน นางจึงทำตามจนครบกำหนดโดยที่หน้าที่ปรนิบัตพ่อแม่และ สามีไม่บกพร่องเลย และในสี่วันสุดท้ายนั้น นางได้เริ่มถือศีลอาคานโซบาวาตี และในขณะที่นางถือศีลอยู่นั้น ยมราชได้มาก่อกวนนางทุกทางแต่ไม่สำเร็จ และในวันที่สี่นั้น นั้นนางไม่ยอมทานอาหารเลย จนกระทั่งวันหนึ่งพระสัตยวานจะเสด็จป่าเพื่อหาอาหาร นางสาวิตรีจึงขอตามพระสวามีไปด้วย ขณะที่เก็บผลไม้อยู่นั้น ก็ถึงกาลที่พระสัตยวานจะสิ้นพระชนม์ เมื่อพระสัตยวานสิ้นพระชนม์ นางสาวิตรีก็เห็นพระยมซึ่งมารับวิญญาณของพระสัตยวานนางจึงได้ออกติดตามไปจนถึงแม่น้ำเวตาล ยมราชได้บอกว่า นางข้ามไม่ได้เพราะภพหน้าคือภพของคนตาย สาวิตรีจึงขอพรจากพระแม่กามเทนุให้พาข้ามไป ยมราช เห็นความตั้งใจของนางจึงได้กล่าวเตือนอีกครั้งเพราะข ้างหน้าคือเทวโลก ที่ซึ่งมนุษย์ไม่สามารถเข้าไปได้ ยมราชจึงต่อรองกับสาวิตรี ว่าเจ้าขอพรได้ 1 ข้อ เว้นแต่ชีวิตของสามี นางจึงขอให้ดวงตาของพ่อและแม่สามีมองเห็นได้อีกครั้ง ยมราชจึงได้ให้พรดังนั้นแล้วเดินทางต่อไป 
          นางสาวิตรีก็ยังดั้งด้นตามยมราชไปโดยขอพรกับพระแม่กา ลี พระแม่กาลีจึงได้ให้ตรีศูลพาข้ามไป ยมราช เห็นดังนั้น จึงได้บอกกับสาวิตรีว่าข้างหน้าเป็นโลกสวรรค์ซึ่งจะไ ปได้เฉพาะเทวดาเท่านั้น ให้นางสาวิตรีกลับไปแต่สาวิตรีไม่ยอม ยมราชจึงต่อรองกับสาวิตรี ว่าเจ้าขอพรได้ 1 ข้อ เว้นแต่ชีวิตของสามี สาวิตรีจึงขอบันลังค์ของพ่อแม่สามีคืน ยมราชให้พรแล้วเดินทางต่อ นางสาวิตรียังดั้งด้นติดตามยมราชต่อไป นางขอพรกับพระแม่ลักษมี พระแม่ลักษมีจึงได้ให้ดอกบัวพาสาวิตรีข้ามโลกสวรรค์ไ ป และ เมื่อยมราชเห็นดังนั้นจึงได้บอกสาวิตรีว่า ข้างหน้าเป็นป่าสวรรค์และเป็นวรรณะโลกที่ผู้คนบูชาที ่ซึ่งแม้แต่เทวดาถ้าไม่ ได้รับอนุญาตก็เข้าไปไม่ได้ ให้นางสาวิตรีกลับไป แต่สาวิตรีไม่ยอมยมราชจึงต่อรองกับสาวิตรี ว่าเจ้าขอพรได้ 1 ข้อ เว้นแต่ชีวิตของสามี นางจึงขอให้พ่อและแม่ที่ไม่มีลูกชายเลยของนางมีลูก 100 คนเพื่อความรุ่งเรือง ยมราชให้พรแล้วเดินทางต่อไป 
          นางสาวิตรีเดินทางตามยมราชต่อ โดยขอพรกับพระแม่สุรัสวดี พระแม่สุรัสวตีจึงได้มองหงส์ของพระแม่ให้พาสาวิตรีไป เมื่อ ถึงยมโลก ยมราชได้บอกกับสาวิตรีว่า ที่นี่คือยมโลก ไม่มีใครเข้าไปได้นอกจากยมราชจะอนุญาต แต่สาวิตรีไม่ยอมฟังได้เดินตามยมราชเข้าไป ยมราชจึงหันมาบอกกับสาวิตรีว่าลูกรักอย่าได้ดื้อไปเล ยกลับไปเถอะ สาวิตรีบอกว่าเมื่อท่านเรียกข้าว่าลูกท่านก็เหมือนพ่ อ แล้วพ่อจะไม่ให้ลูกเข้าบ้านหรือ ยมราชจึงต่อรองกับสาวิตรี ว่าเจ้าขอพรได้ 1 ข้อ เว้นแต่ชีวิตของสามี แล้วกลับไป สาวิตรีจึงขอมีบุตรถึง 100 คน ยมราชได้ให้พรดังที่ขอ แต่สาวิตรีไม่ยอมกลับ ยมราชจึงหันมาดุสาวิตรี นางสาวิตรีเลยได้กล่าวว่าหากท่านให้พรข้ามีลูกถึง100 คน แต่หากข้าปราศจากสามีแล้ว แล้วข้าจะตั้งท้องได้อย่างไร สุดท้ายยมราชเลยยอมคืนวิญญานพระยาสัตยวานคืนให้ และได้ครองคู่อยู่ด้วยกันอย่างมีความสุข
 
 
 
นางสีดา

นางสีดาเป็นนางในวรรณคดีจากเรื่อง " รามเกียรติ์" ในเรื่องรามเกียรติ์นั้นนางสีดานับว่าเป็นบุคคลสำคัญ ที่เป็นจุดเริ่มของเหตุการณ์ที่โยงไปสู่การรบกันระหว่างพระรามกับทศกัณฑ์
ประวัติ
ลักษณะนิสัยนางสีดาเป็นผู้ที่มีความจงรักภักดีต่อสามีอย่างเป็นเลิศ เช่น ในตอนที่พระรามต้องออกดินป่า นางก็ขอตามเสด็จไปด้วยโดยไปเกรงกลัวต่อความยากลำบากที่จะต้องพบ นางสีดานั้นรักนวลสงวนตัว รักในเกียรติของตนเอง เช่น ในตอนที่หนุมานอาสาจะพานางกลับไปหาพระรามโดย ให้นั่งบนมือของหนุมาน นางก็ปฏิเสธทั้งที่มีโอกาสหนี แต่ด้วยเหตุที่ไม่อยากให้ใครมาถูกเนื้อต้องตัวจึงยอมทนทุกข์อยู่เมืองลงกา ต่อ มีความกล้าหาญเด็ดเดี่ยว เช่น ตอนที่นางสีดายอมลุยไฟเพื่อแสดงความบริสุทธิ์ของตน นางสีดามีความรู้คุณ กตัญญูต่อผู้มีพระคุณ เช่น ในตอนที่นางสีดากล่าวขอบคุณพระลักษมณ์ที่ช่วยเหลือนางมาตลอด เมื่อรู้ว่าตนทำผิดก็รู้จักขอโทษ เช่น ในตอนที่รู้ว่าตนทำผิดที่ไม่เชื่อคำของพระรามว่าเป็นกลลวงของยักษาที่แปลงกายเป็นกวางเพื่อหลอกล่อนาง แต่นางก็ไม่ฟัง จึงได้กล่าวขอพระราชทานอภัยโทษจากพระราม ที่ได้กระทำผิดไป นางเป็นคนใจแข็ง ไม่ยอมเชื่อใครโดยง่าย ทั้งยังรักศักดิ์ศรีของตน เช่น ในตอนที่พระรามตามง้อขอคืนดี นางก็ปฏิเสธไปเพราะยังมีทิฐิ
นางสีดาเป็นสตรีที่มีความงามยิ่งกว่านางฟ้าในสวรรค์ ผู้ใดพบเห็นก็ต่างพากันตะลึงในความงดงามของนาง เช่น เมื่อพระรามเดินทางมาเมืองมิถิลาเพื่อร่วมพิธียกศร ซึ่งท้าวชนกโปรดให้จัดขึ้นเพื่อหาคู่ให้นางสีดาครั้นพระรามให้เห็นนางสีดาก็เกิดความรักขึ้นทันที จนลืมองค์ชั่วขณะหรือแม้แต้ท้าวมาลีวราช เมื่อได้เห็นนางสีดาก็ยังชื่นชมในความงามของนาง
นางสีดาคือพระลักษมีจุติลงมาตามบัญชาของพระอิศวรเพื่ออัญเชิญพระนารายณ์อวตาร นางสีดาเกิดจากนางมณโฑและทศกัณฐ์ พิเภกได้ทำนายดวงชะตานางสีดาว่าจะเกิดมาทำลายเผ่ายักษ์ นางจึงถูกทิ้งให้ลอยน้ำมาในผอบทอง ต่อมาพระฤาษีชนกก็รับเลี้ยงนางสีดาเป็นธิดา และตั้งชื่อนางว่าสีดา ต่อมานางก็ได้อภิเษกกับพระราม และเกิดเหตุการณ์วุ่นวายขึ้นเมื่อนางถูกทศกัณฐ์จับตัวไปเพื่อให้เป็นมเหสีเนื่องจากความงามเป็นเลิศของนาง จึงเกิดการรบกันระหว่างฝ่ายพระรามและทศกัณฐ์ ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดเรื่องรามเกียรติ์ขึ้น
 
 
นางละเวงวัณฬา

นางละเวงวัณฬาเป็นหญิงฝรั่ง ธิดาของของกษัตริย์เมืองลังกา และเป็นน้องสาวของอุษเรนผู้เป็นคู่หมั้นของนางสุวรรณ มาลี เมื่อนางอายุได้ ๑๖ ปีนางต้องสูญเสียบิดาและพี่ชายไปในสงครามสู้รบระหว่างเมืองลังกาและเมือง ผลึกเพื่อแย่งชิงนางสุวรรณมาลีกลับคืนจากพระอภัยมณีนางต้องการแก้แค้นแทนพ่อและพี่ชายจึงส่งภาพวาดของนางซึ่งทำเสน่ห์ไว้พร้อม กับแนบจดหมายชักชวนให้ทำศึกกับเมืองผลึกไปถึงเจ้าเมืองต่างๆ โดยสัญญาว่าถ้าใครมีชัยชนะนางพร้อมจะเป็นภรรยาและยกเมืองลังกาให้ครองด้วย บรรดาเจ้าเมืองเหล่านั้นหลงรูปของนางจึงยกทัพมารบกับเมืองผลึก แต่พ่ายแพ้ไปหมดทุกกองทัพ พระอภัยมณีจึงยกทพไปตีเมืองลังกาบ้าง นางละเวงใช้วิธีทำเสน่ห์ให้พระอภัยมณีหลงรักนางแม้จะเสียใจจนคิดที่จะฆ่าตัวตายตามพ่อและพี่ชายไป แต่ด้วยความแค้นและภาวะที่บ้านเมืองกำลังขาดผู้นำ นางจึงขึ้นครองเมืองลังกาแทนบิดา และตั้งใจแน่วแน่ที่จะแก้แค้นแทนบิดาและพี่ชายให้จงไ ด้  แล้วนางก็ยุให้สู้รบกับกองทัพฝ่ายเมืองผลึก จนโยคีแห่งเกาะแก้วพิสดารมาเทศนาโปรด สันติสุขจึงกลับคืนมา เมื่อพระอภัยมณีออกบวช นางก็บวชตามไปปรนนิบัติรับใช้เช่นเดียวกับนางสุวรรณมาลี
ลักษณะนิสัย 
 บทบาท ของนางละเวงในเรื่องนั้นค่อนข้างแปลกกว่าตัวผู้หญิงใ นเรื่องอื่นๆ คือมีลักษณะเป็นทั้งนางเอกและผู้ร้ายก้ำกึ่งกัน ใน ตอนต้นนางทำศึกโดยการใช้เล่ห์กลอุบายตามคำแนะนำของบา ทหลวง ทั้งนี้ด้วยคามแค้นที่พ่อและพี่ชายถูกฆ่าตายด้วยฝีมื อชาวเมืองผลึก แม้ว่าความพยายามของนางในตอนต้นๆจะไม่ได้ผลเต็มที่ นางก็ไม่ละความพยายาม จนกระทั่งพระอภัยมณียกทัพข้ามไปราวีกรุงลังกาเสียเอง ทั้งๆที่มีความเกลียด ความโกรธ ความอาฆาตแค้นอยู่เต็มอก แต่พอนางได้พบหน้า และต่อปากต่อคำกับพระอภัยมณีศัตรูคนสำคัญเพียงครั้งเ ดียว นางก็ชักจะเรรวนไปข้างเสน่หาพระอภัยมณีเสียแล้ว แต่ด้วยความที่เป็นเจ้าเมืองลังกา นางละเวงจึงยอมตัดใจไม่เกี่ยวข้องกับพระอภัยมณีเป็นอ ันขาด แต่จะยกกองทัพกลับมาต่อสู้ให้ชนะให้จงได้ การที่จะทำศึกกับคนที่ตนรักนั้นไม่ใช่ของง่าย นางละเวงเองก็ทรมานใจ 
                    “เมื่อต่างชาติศาสนาเป็นข้าศึก สุดจะนึกร่วมเรียงเคียงเขนย  ขอสู้ตายชายอื่นไม่ชื่นเชย จนล่วงเลยสู่สวรรค์ครรไล”
 
 
 
นางมัทนา

วรรณคดี เรื่องนี้มีคุณค่าทางวรรณคดีสูงล้ำยิ่งนักด้วยเปี่ยมไปด้วยถ้อยคำไพเราะงดงาม การดำเนินเรื่องที่ครบถ้วนทั้งรสแห่งความรัก 
รสแห่งความแค้น รสแห่งความเกลียด รสแห่งความทุกข์ระทม
ดังจะกล่าวบทไปดังนี้....
            จอมเทพสุเทษณ์เป็นทุกข์อยู่ด้วยความลุ่มหลงเทพธิดามัทนาแม้จิตระรถผู้สารถีคู่บารมีจะนำรูปของเทพเทวีผู้เลอโฉมหลายต่อหลายองค์
มาถวายให้เลือกชมสุเทษณ์ก็มิสนใจไยดี จิตระรถจึงนำมายาวินวิทยาธรมาเฝ้าสุเทษณ์ให้มายาวินใช้เวทมนตร์เรียกนางมัทนามาหาเมื่อมาแล้วนางมัทนาก็เหม่อลอยมิมีสติสมบูรณ์เพราะตกอยู่ในฤทธิ์มนตรา สุเทษณ์มิต้องการได้นางด้วยวิธีเยี่ยงนั้น จึงให้มายาวินคลายมนตร์แต่ครั้นได้สติแล้วนางมัทนาก็ปฏิเสธว่ามิมีจิตเสน่หาตอบด้วยมิว่าสุเทษณ์จะเกี้ยวพาและรำพันรักอย่างไรสุเทษณ์โกรธนักจึงจะสาปมัทนาให้ไปเกิดในโลกมนุษย์

             มัทนาขอให้นางได้ไปเกิดเป็นดอกไม้มีกลิ่นกลิ่นหอมเพื่อให้มีประโยชน์บ้างสุเทษณ์จึงสาปมัทนาให้ไปเกิดเป็นดอกกุหลายที่งามทั้งกลิ่นทั้งรูป และมีแต่เฉพาะบนสวรรค์ยังไม่เคยมีบนโลกมนุษย์ โดยที่ในทุกๆ 1 เดือน นางมัทนาจะหลายร่างเป็นคนได้ชั่ว 1 วัน 1 คืนในเฉพาะวันเพ็ญของแต่ละเดือนเท่านั้นและถ้านางมีความรักเมื่อใดนางก็จะมิต้องคืนรูปเป็นกุหลาบอีก แต่นางจะได้รับความทุกข์ทรมานเพราะความรักจนมิอาจทนอยู่ได้และเมือนั้นถ้านางอ้อนวอนขอความช่วยเหลือ ตนจึงจะงดโทษทัณฑ์นี้ให้แก่นาง

             นางมัทนาไปจุติเป็นกุหลาบงามอยู่ในป่าหิมะวันบรรดาศิษย์ของฤษีนามกาละทรรศินมาพบเข้าจึงนำความไปบอกพระอาจารย์ กาละทรรศินจึงให้ขุดไปปลูกในบริเวณอาศรมของตนในขณะที่จะทำการขุดก็มีเสียงผู้หญิงร้องกาละทรรศินเล็งญาณดูก็รู้ว่าเป็นเทพธิดามาจุติ จึงได้เอ่ยเชิญและสัญญาว่าจะคอยดูแลปกป้องสืบไป เมื่อนั้นการจึงสำเร็จด้วยดี วันเพ็ญในเดือนหนึ่งท้าวชัยเสนกษัตริย์แห่งหัสตินาปุระได้เสด็จออกล่าสัตว์ในป่าหิมะวันและได้แวะมาพักที่อาศรมพระฤษี ครั้นได้เห็นนางมัทนาในโฉมของนารีผู้งดงามก็ถึงกับตะลึงและตกหลุมรักจนถึงกับรับสั่งให้มหาดเล็กปลูกพลับพลา
พักแรมไว้ใกล้อาศรมนั้นทันที

             ท้าวชัยเสนรำพันถึงความรักลึกซึ้งที่มีต่อนางมัทนาครั้นเมื่อนางมัทนาออกมาที่ลานหน้าอาศรมก็มิเห็นผู้ใด ด้วยเพราะท้าวชัยเสนหลบไปแฝงอยู่หลังกอไม้นางมัทนาได้พรรณาถึงความรักที่เกิดขึ้นในใจอย่างท่วมท้น ท้าวชัยเสนได้สดับฟังทุกถ้อยความจึงเผยตัวออกมาทั้งสองจึงกล่าวถึงความรู้สึกอันล้ำลึกในใจที่ตรงกันจนเข้าใจในรักที่มีต่อกันจากค่ำคืนถึงยามรุ่งอรุณ ท้าวชัยเสนจึงทรงประกาศหมั้นและคำสัญญารัก ณ ริมฝั่งลำธารใกล้อาศรมนั้นเมื่อมีความรักแล้วนางมัทนาก็ยังคงรูปเป็นนารีผู้งดงามมิต้องกลายรูปเป็นกุหลาบอีก
             ท้าวชัยเสนได้ทูลขอนางมัทนา พระฤษีก็ยกให้โดยให้จัดพิธีบูชาทวยเทพและพิธีวิวาหมงคลในป่านั้นเสียก่อน ท้าวชัยเสนเสด็จกลับวังหลายเพลาแล้วแต่ก็มิได้เสด็จไปยังพระตำหนักข้างในด้วยว่ายังทรงประทับอยู่แต่ในอุทยาน พระนางจัณฑีมเหสีให้นางกำนัลมาสืบดูจนรู้ว่าพระสวามีนำสาวชาวป่ามาด้วยจึงตามมาพบท้าวชัยเสนกำลังอยู่กับนางมัทนาพอดี เมื่อพระนางจัณฑีเจรจาค่อนขอดดูหมิ่นนางมัทนา ท้าวชัยเสนก็กริ้วและทรงดุด่าว่าเป็นมเหสีผู้ริษยา พระนางจัณฑีแค้นใจนักให้คนไปทูลฟ้องพระบิดาผู้เป็นเจ้าแห่งมคธนครให้ยกทัพมาทำศึกกับท้าวชัยเสน
             จากนั้นก็คบคิดกับนางค่อมอราลีและวิทูรพราหมณ์หมอเสน่ห์ทำอุบายกลั่นแกล้งนางมัทนาโดยส่งหนังสือไปทูลท้าวชัยเสนว่านางมัทนาป่วย ครั้นเมื่อท้าวชัยเสนรีบเสด็จกลับมาเยี่ยมนางมัทนาก็กลับพบหมอพราหมณ์กำลังทำพิธีอยู่ใกล้ๆต้นกุหลาบ วิทูรกับนางเกศินีข้าหลวงของนางจัณฑีจึงทูลใส่ความว่านางมัทนาให้ทำเสน่ห์เพื่อให้ได้ร่วมชื่นชูสมสู่กับศุภางค์

            ท้าวชัยเสนกริ้วนัก รับสั่งให้ศุภางค์ประหารนางมัทนาแต่ศุภางค์ไม่ยอม ท้าวชัยเสนจึงสั่งประหารทั้งคู่ พระนางจัณฑีได้ช่องรีบเข้ามาทูลว่าตนจะอาสาออกไปห้ามศึกพระบิดาซึ่งคงเข้าใจผิดว่านางกับท้าวชัยเสนนั้นบาดหมางกัน แต่ท้าวชัยเสนตรัสว่าทรงรู้ทันอุบายของนางที่คิดก่อศึกแล้วจะห้ามศึกเอง พระองค์จะขอออกทำศึกอีกคราแล้วตัดหัวกษัตริย์มคธพ่อตาเอามาให้นางผู้ขบถต่อสวามีตนเอง ขณะตั้งค่ายรบอยู่ที่นอกเมืองวิทูรพรหมณ์เฒ่าได้มาขอเข้าเฝ้าท้าวชัยเสนเพื่อสารภาพความทั้งปวงว่าพระนางจัณฑีเป็นผู้วางแผนการร้าย ซึ่งในที่สุดแล้วตนสำนึกผิดและละอายต่อบาป
ที่เป็นเหตุให้คนบริสุทธิ์ต้องได้รับโทษประหาร 

            ท้าวชัยเสนทราบความจริงแล้วคั่งแค้นจนดำริจะแทงตนเองให้ตายแต่อำมาตย์นันทิวรรธนะเข้าห้ามไว้ทันและสารภาพว่าในคืนเกิดเหตุนั้นตนละเมิดคำสั่งมิได้ประหารศุภางค์และนางมัทนาหากแต่ได้ปล่อยเข้าป่าไปซึ่งนางมัทนานั้นได้โสมะทัตศิษย์เอกของฤษีกาละทรรศินนำพากลับสู่อาศรมเดิม แต่ศุภางค์นั้นแฝงกลับเข้าไปร่วมกับกองทัพแล้วออกต่อสู้กับข้าสึกจนตัวตาย ท้าวชัยเสนจึงรับสั่งให้ประหารท้าวมคธที่ถูกจับมาเป็นเชลยไว้ก่อนหน้านั้นแล้วส่วนพระนางจัณฑีมเหสีนั้นทรงให้เนรเทศออกนอกพระนคร ด้วยทรงเห็นว่าอันนารีผู้มีใจมุ่งร้ายต่อผู้เป็นสามีก็คงต้องแพ้ภัยตนเอง มิอาจอยู่เป็นสุขได้นานแน่ ฝ่ายนางมัทนานั้นได้ทำพิธีบูชาเทพและวอนขอร้องให้สุเทษณ์จอมเทพช่วยนางด้วยสุเทษณ์นั้นก็ยินดีจะแก้คำสาปและรับนางเป็นมเหสี แต่นางมัทนาก็ยังคงปฏิเสธและว่าอันนารีจะมีสองสามีได้อย่างไรสุเทษณ์เห็นว่านางมัทนายังคงปฏิเสธความรักของตนจึงกริ้วนักสาปส่งให้นางมัทนาเป็นดอกกุหลาบไปตลอดกาล มิอาจกลายร่างเป็นมนุษย์ได้อีกต่อไป

            เมื่อท้าวชัยเสนตามมาถึงในป่านางปริยัมวะทาที่ตามมาปรนนิบัติดูแลนางมัทนาด้วยก็ทูลเล่าความทั้งสิ้นให้ทรงทราบ ท้าวชัยเสนจึงร้องร่ำให้ด้วยความอาลัยรักแล้วขอให้พระฤษีช่วย โดยใช้มนตราและกล่าวเชิญนางมัทนาให้ยินยอมกลับเข้าไปยังเวียงวังกับตนอีกคราเมื่อพระฤษีทำพิธีแล้วท้าวชัยเสนก็รำพันถึงความหลงผิดและความรักที่มีต่อนางมัทนาให้ต้นกุหลาบได้รับรู้ จากนั้นจึงสามารถขุดต้นกุหลาบได้สำเร็จท้าวชัยเสนได้นำต้นกุหลาบขึ้นวอทองเพื่อนำกลับไปปลูกในอุทยาน และขอให้ฤษีกาละทรรศินให้พรวิเศษว่ากุหลาบจะยังคงงดงามมิโรยราตราบจนกว่าตัวพระองค์เองจะสิ้นอายุขัยพระฤษีก็อวยพรให้ดังใจ และประสิทธิประสาทพรให้กุหลาบนั้นดำรงอยู่คู่โลกนี้มิมีสูญพันธ์อีกทั้งยังเป็นไม้ดอกที่กลิ่นอันหอมหวานสามารถช่วยดับทุกข์ในใจคน
และดลบันดาลให้จิตใจเบิกบานเป็นสุขได้ ชาย-หญิงเมื่อมีรักก็จักใช้ดอกกุหลาบเป็นสัญญลักษณ์แห่งความรักแท้สืบต่อไป
 
 
 
นางอันโดรเมดา
 "อันโดรเมดาสุดาสวรรค์      ยิ่งกว่าชีวันเสน่หา
          ขอเชิญสาวสวรรค์ขวัญฟ้า     เปิดวิมานมองมาให้ชื่นใจ
              ถึงกลางวันสุริยันแจ่มประจักษ์     ไม่เห็นหน้านงลักษณ์ยิ่งมืดใหญ่ 
                   ถึงราตรีมีจันทร์อันอำไพ     ไม่เห็นโฉมประโลมใจก็มืดมน 
                      อ้าดวงสุรีย์ศรีของพี่เอ๋ย     ขอเชิญเผยหน้าต่างนางอีกหน 
ขอเชิญจันทร์ส่องสว่างกลางสากล     เยื่ยมมาให้พี่ยลเยือกอุราฯ"
              วิวาห์พระสมุทร เป็นบทละครพูดสลับรำ มีทั้งบทร้องและบทเจรจา เป็นพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชนิพนธ์ เมื่อ พ.ศ. 2461เนื้อเรื่องได้เค้ามาจากนิยายกรีกเก่าเชื่อว่า ถ้าหญิงงามตายในทะเลจะช่วยให้พ้นอุทกภัย จุดมุ่งหมาย เพื่อพระราชทานแก่คณะเสือป่า กองเสนาหลวงรักษาพระองค์ แสดงเก็บเงินบำรุงราชนาวีสมาคมแห่งกรุงสยาม ณ พระราชวังสนามจันทร์
             กล่าวถึงประชาชนชาวกรีก ณ เกาะอัลฟะเบตา โง่เขลา หลงเชื่อในอำนาจทางทะเล เมื่อครบรอบ 100 ปี จะต้องส่งสาวพรหมจารีไปเป็นเจ้าสาวของพระสมุทร กษัตริย์มิดัสผู้ครองเกาะจำใจส่งราชธิดาชื่ออันโดรเมดาไป สังเวยทางทะเล อันโดรเมดารักอยู่กับอันเดรเนี่ยและอยากจะแต่งงานด้วย แต่ว่าพ่อของอันโดรเมดาถ้าไม่ได้ผลประโยชน์ร่วมก็จะไม่ให้แต่งงานกันแน่ พระเอกก้เลยจะทำเป็นว่าเอาเรือมาขู่ล้อมเกาะติดอยู่ที่ไม่มีเรือ จะเอายศหรือเงินทองมาให้ก็มีไม่มากเพราะพ่อตัวเองที่เป็นเจ้าเมืองเมืองอื่นเอาไปลงทุนหมด นางเอกที่ร่วมคิดแผนเลยบอกให้ไปขอกับพ่อของตนแบบตรงๆดู แต่อันเดรคู่รักของนางออกอุบาย ขอให้นายนาวาเอกเอดเวิดไลออนกัปตันเรืออังกฤษมาขู่ชาวเมืองให้ยกนางให้อันเดรนางจึงรอดชีวิต และได้แต่งงานกับอันเดรสมปรารถนา
             คุณค่าทางวรรณคดี เป็นบทละครสุขใจและขบขันบางตอน เป็นเรื่องรักสดชื่นจบลงด้วยคงามสุข กระบวนกลอนและฉันท์ประณีตบรรจง บทร้องเพราะทำนองดี
 
  
 
นางอิลา
 
อิลราชคำฉันท์
กวี : พระยาศรีสุนทรโวหาร (ผัน สาลักษณ) 
ประเภท : นิทาน 
คำประพันธ์ : คำฉันท์ 
ความยาว : 329 บท 
สมัย : รัตนโกสินทร์ 
ปีที่แต่ง : พ.ศ. 2456
           อิลราชคำฉันท์ เป็น วรรณคดี คำฉันท์ที่ได้รับการยกย่องว่าแต่งดี มีความไพเราะ และนิยมใช้เป็นแบบอย่างในการแต่งคำฉันท์มาช้านาน แม้จะมีความยาวเพียง 329 บท ตีพิมพ์เป็นหนังสือเล่มเล็กเพียง 36 หน้ากระดาษเท่านั้น นับเป็นคำฉันท์อีกเรื่องหนึ่งที่นักศึกษาวรรณคดีเอ่ยถึงเสมอ
           ผู้ประพันธ์อิลราชคำฉันท์คือ พระยาศรีสุนทรโวหาร (ผัน สาลักษณ) แต่งเมื่อครั้งยังมีบรรดาศักดิ์เป็นหลวง ที่ หลวงสารประเสริฐในสมัยรัชกาลที่ 6 นับว่าเป็นยุคทองของวรรณคดีไทยอีกยุคหนึ่ง ด้วยองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเป็นกวี ขณะเดียวกันการศึกษาในประเทศก็กว้างขวางมากขึ้น อีกทั้งยังมีนักเรียนไทยได้รับทุนการศึกษาไปเรียนในต่างประเทศ วงการวรรณกรรมจึงมีความคึกคักและเปลี่ยนไหวมากเป็นพิเศษ
 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงแนะนำให้หลวงสารประเสริฐ (ในเวลานั้น) หลวงสารประเสริฐยังไม่ได้แต่งหนังสือตามรับสั่ง เพราะยังหาเรื่องไม่ได้ แต่ครั้นเมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระราชนิพนธ์เรื่อง "บ่อเกิดรามเกียรติ์" หลวงสารประเสริฐได้อ่าน นิทานเรื่องอิลราช ในอุตตรกัณฑ์แห่งรามายณะ ก็ชอบใจ และเอามาเป็นเนื้อหาที่จะแต่งหนังสือตามรับสั่งดังกล่าว
เรื่องย่อ
           ณ นครพลหิกา (แคว้นพลหิ) มีกษัตริย์องค์ ๑ ทรงนามว่าท้าวอิลราช เป็นโอรสพระกรรทมประชาบดีบรหมหมบุตร เป็นผู้ที่ทรงคุณธรรมอันประเสริฐ ครอบครองประชาชนด้วยเมตตาประหนึ่งเป็นบุตรของพระองค์ ทรงเดชานุภาพปราบได้ทั่วไป อยู่มาวันหนึ่งในฤดูวสันต์ ท้าวอิลราชได้เสด็จไปไล่เนื้อเล่นในป่า จนไปถึงตำบลซึ่งเป็นที่กำเนิดแห่งพระขันทกุมาร ในเวลานั้นพระอิศวรกำลังทราบสำราญอยู่ในที่รโหฐาน ณ เชิงเขาไกรลาส และได้ทรงจำแลงเป็นสตรีเพื่อล้อพระอุมาเล่น และบรรดาสัตว์และต้นไม้ก็กลายเป็นเพศหญิงไปหมด ท้าวอิลราชกับบริวารเดินล่วงที่รโหฐานนั้นเข้าไป ก็กลายเป็นสตรีไปหมด ท้าวอิลราชตกพระทัยจึ่งไปเฝ้าพระอิศวรทูลขออภัย ขอให้ได้กลับเป็นชายอย่างเดิม พระอิศวรก็ไม่โปรดประทานพ แต่พระอุมาตรัสว่าจะยอมประทานพรกึ่งหนึ่ง ท้าวอิลราชจึ่งทูลขอว่า ในเดือนหนึ่งขอให้เป็นสตรีอันมีรูปงามหานางใดเสมอเหมือนมิได้ แล้วให้เป็นบุรุษอีกเดือนหนึ่งสลับกันไป พระอุมาก็โปรดประทานพรตามปรารถนาและตรัสด้วยว่าเมื่อใดกลับเพศเป็นชายให้ลืม เหตุการณ์ทั้งปวงที่ได้เป็นไปในเวลาเป็นสตรี และเมื่อกลายเป็นสตรีก็ให้ลืมเวลาที่เป็นบุรุษ แต่นั้นมาราชานั้นก็เป็นบุรุษชื่อท้าวอิลราชเดือนหนึ่ง และกลายเป็นนางอิลาเดือนหนึ่งสลับกันอยู่ฉะนั้น
           ในเดือนต้น ระหว่างที่เป็นสตรีอยู่นั้น นางอิลากับบริวารซึ่งเป็นบุรุษกลายเป็นสตรีไปหมดนั้น พากันเที่ยวเล่นในป่าตามวิสัยสตรี วันหนึ่งนางอิลาพบพระพุธ ซึ่งกำลังบำเพ็ญพรตสมาธิอยู่ในสระอันหนึ่ง นางอิลากับบริวารพากันวักน้ำจ๋อมแจ๋ม พระพุธลืมเนตรขึ้นเห็นนางอิลาก็มีความรัก จึงขึ้นมาจากสระชวนนางไปยังอาศรม ไล่เลียงดูว่าเป็นลูกเต้าเหล่าใคร แต่ตัวนางอิลาก็บอกไม่ถูก เพราะตามพรพระอุมานางลืมเรื่องราวของตนในส่วนที่เป็นบุรุษนั้นหมด และนางบริวารก็บอกไม่ถูกเหมือนกัน พระพุธจึ่งเล็งดูด้วยญาณทราบเหตุทุกประการแล้ว จึงตรัสแก่นางบริวารว่า
          "เจ้าทั้งหลายจงเป็นกินรีและอาศัยอยู่ในเขานี้เถิด ตูจะหามูลผลาหารมาให้กินมิได้อดอยาก และตูจะหากิมบุรุษให้เป็นสามีเจ้าทั้งหลาย"
          ครั้งเมื่อพระพุธได้เห็นพวกกินรีไปพ้นแล้ว จึงตรัสชวนนางอิลาให้อยู่ด้วยกับพระองค์ เป็นชายาสืบไป จนครบกำหนดเดือนหนึ่ง นางอิลาก็กลายรูปเป็นท้าวอิลราชไป ท้าวอิลราชถามพระพุธว่า บริวารหายไปไหนหมด พระพุธก็ตอบว่าได้บังเกิดเหตุร้าย มีศิลาทรายลงมาทับพวกบริวารของท้าวอิลราชตายเสียหมดแล้ว แต่ส่วนท้าวอิลราชรอดตายเพราะได้เข้าอาศัยอยุ่ในอาศรมของพระพุธ (ตามพรพระอุมา ท้าวอิลราชเมื่อกลายรูปเป็นบุรุษอย่างเดิมแล้ว ก็ลืมบรรดาเหตุการณ์ที่ได้เป็นไปในขณะเมื่อเป็นสตรี ส่วนท้าวอิลราชเองนั้นก็มีเวลากลับคืนเป็นบุรุษได้แต่บิรวารมิได้รับพรเช่น นั้น จึ่งยังคงเป็นสตรีอยู่ตลอดเวลา พระพุธไม่อยากให้ท้าวอิลราชมีความโทมนัส จึ่งต้องกล่าวหลอกว่าบริวารตายเสียหมดแล้ว) ฝ่ายท้าวอิลราชครั้นได้ยินว่าบริวารตายหมดแล้วก็มีความเศร้าโศก และทูลพระพุธว่า จะยกราชสมบัติให้โอรสครองต่อไป ส่วนตนจะเข้าสู่ป่าเป็นโยคี พระพุธก็ชวนไว้ให้อยู่ด้วยกัน ท้าวอิลราชจึ่งตกลงอยู่ที่อาศรมพระพุธ บำเพ็ญพรตภาวนาอยู่ตลอดเดือนหนึ่ง แล้วก็กลับเพศเป็นสตรี และปฏิบัติพระพุธผู้เป็นสามีไปอีกเดือนหนึ่ง กลับไปกลับมาเช่นนี้จนถ้วนนพมาส นางอิลาก็ประสูติกุมารองค์หนึ่ง ซึ่งประพุธให้นามว่า ปุรุรพ
          เมื่อท้าวอิลราชกลับรูปเป็นบุรุษอีกแล้ว พระพุธจึ่งคำนึงถึงประโยชน์แห่งท้าวอิลราช เชิญพระมหาฤษีผู้มีชื่อมาหลายคนเพื่อปรึกษากันคิดหาทางที่จะแก้ไขให้ท้าวอิล ราชได้คงเป็นบุรุษตลอดเวลา ขณะที่ชุมนุมกันอยู่นั้น พระมหามุนีกรรทมเทพบุตร ผู้เป็นพระบิดาแห่งท้าวอิลราช ก็มายังอาศรมพระพุธพร้อมด้วยพระมุนีอื่นๆ อีก พระกรรมทมทราบเรื่องราวแล้วก็กล่าว่า มีทางแก้ได้แต่โดยอาศัยอานุภาพพระอิศวรเท่านั้นควรให้ทำพิธีอัศวเมธบูชาพระอิศวร จึ่งตกลงกันตั้งพิธีอัศวเมธ พระอิศวรพอพระทัยก็เสด็จลงมาประสาทพรให้ท้าวอิลราชได้เป็นบุรุษอยู่ต่อไป ไม่ต้องกลับเป็นสตรีอีก
          ครั้นเมื่อท้าวอิลราชกลับนครท้าวอิลราชกลับถึงนครพลหิกาทรง อภิเษกพระสสพินทุ์ให้ครองราชย์ในนครนั้น แล้วก็ไปสร้างนครใหม่เรียกกว่า ประดิษฐาน ให้เป็นที่สถิตพระปุรุรพ โอรสพระพุธนั้นสืบไป
 
 
นางบุษบา
 
นางบุษบาเป็นธิดาของท้าวดาหาและประไหมสุหรีดาหราวาตี แห่งกรุงดาหา มีอนุชาร่วมบิดามารดาชื่อสียะตรา มีความเกี่ยวข้องใกล้ชิดกับอิเหนาในฐานะญาติสนิท นางเป็นคู่หมั้นของอิเหนา เมื่อตอนประสูติมีเหตุอัศจรรย์คือ มีกลิ่นหอมตลบอบอวลไปทั่วทั้งวัง ดนตรี แตรสังข์ก็ดังขึ้นเองโดยไม่มีผู้บรรเลงประสูติได้ไม่นาน ท้าวกุเรปันก็ขอตุนาหงันให้กับอิเหนา
ความงามของนางถูกบรรยายไว้หลายตอน เช่น

   "จึงประสูติพระธิดายาใจ
   งามวิไลล้ำเลิศเพริศพราย
   อันอัศจรรย์ที่บันดาด
   ก็อันตรธานสูญหาย
   ยังกลิ่นหอมรวยชวยชาย
   จึงถวายพระนามตามเหตุนั้น
   ชื่อระเด่นบุษบาหนึ่งหรัด
   ลออเอี่ยมเทียมทัดนางสวรรค์
   นางในธรณีไม่มีทัน
   ผิวพรรณผุดผ่องดังทองทา"
       บุษบาเป็นหญิงที่งามล้ำเลิศกว่านางใดในแผ่นดินชวากิริยามารยาทเรียบร้อย คารมคมคาย เฉลียวฉลาดทันคนใจกว้างและมีเหตุผล จึงผูกใจให้อิเหนารักใคร่ใหลหลงนางยิ่งกว่าหญิงอื่น นอกจากนั้นบุษบายังเป็นลูกที่ดีอยู่ในโอวาทของพระบิดา พระมารดา ยอมแต่งงานกับระตูจรกา แม้ว่าจะไม่พอใจในความขี้ริ้วขี้เหร่ของระตูจรกาก็ตาม
        นางถูกเทวดาบรรพบุรุษ ของวงค์อสัญแดหวาคือ องค์ปะตาระกาหลาบันดาลให้ลมพายุหอบไป ทำให้นางต้องพลัดพรากจากอิเหนา และพระบิดาพระมารดาเป็นเวลาหลายปี กว่าจะได้พบอิเหนาและวิวาห์กัน โดยนางได้ตำแหน่งเป็นประไหมสุหรีฝ่ายซ้าย 
ลักษณะนิสัย 
1. บุษบาเป็นหญิงที่มาแบบฉบับของลูกที่ดีอยู่ในโอวาทของพ่อแม่ แม้ว่านางจะไม่พอใจในรูปร่างของจรกา แต่นางก็ยอมที่จะไม่ทำตามใจตนเองเพื่อรักษาชื่อเสียงของวงศ์ตระกูล 
2. เป็นคนไม่เจ้ายศเจ้าอย่างหรือถือว่าตนสูงศักดิ์กว่านางจินตะหรา เห็นได้จากตอนที่จินตะหราได้ให้นางสการะวาตีและนางมาหยารัศมีมาเฝ้า บุษบาก็ให้การต้อนรับเป็นอย่างดี 
3. เป็นคนไม่เหลาะแหละ รู้จักโต้เถียงแสดงความฉลาดรู้ทันอิเหนาและรักษาเกียรติของตนเองไม่ยอม หลงเชื่ออย่างง่ายๆ ในตอนที่อิเหนาพูดว่า  
                                                       " อันนางจินตะหราวาตี     ใช่พี่จะมุ่งมาดปรารถนา  
                                                         หากเขาก่อก่อนอ่อนมา     ใจพี่พาลาก็งวยงง……" 
จากที่อิเหนาพูดนี้ก็ทำให้นางบุษบารู้ว่าอิเหนาเจรจาเข้าข้างตัวเอง นางก็โต้ตอบว่าอย่ามาแกล้งพูดเลยว่าจะไม่เลี้ยงนางจินตะหราวาตี เพราะมีลายลักษณ์อักษรและใครๆก็รู้กันทั่วว่าอิเหนาไม่ต้องการนาง นางจึงโต้ตอบ เมื่ออิเหนาแก้ตัวว่าที่ลักนางมาก็ด้วยความรักว่า
                                                    " จะให้เชื่อพจมานหวานถ้อย    จะได้ไปเป็นน้อยชาวหมันหยา 
                                                      เขาจะเชิดชื่อฤาชา                ว่ารักสามีท่านกว่าความอาย 
                                                      อันความอัปยศอดสู                จะติดตัวชั่วอยู่ไม่รู้หาย 
                                                      ร้อนใจอะไรเล่าเจ้าเป็นชาย    ไม่เจ็บอายขายหน้าก็ว่าไป " 
และตอนที่ นางบวชเป็นแอหนัง (ชี ) แลัวถูกปันหยีขโมยกริชไป นางก็คร่ำครวญต่อว่าพี่เลี้ยงด้วยความรักเกียรติสตรีว่า  
                                                    " พี่แกล้งเป็นใจด้วยปันหยี       เห็นคนอื่นดียิ่งกว่าข้า 
                                                      ในถ้อยคำที่ร่ำพรรณนา         ว่าแสนเสน่หาอิเหนานัก
                                                      เป็นไฉนจึงยกน้องให้            แก่ชาวไพร่ต่ำช้าบรรดาศักดิ์ 
                                                      กระนี้ฤาพี่เรียกว่ารัก             พึ่งจะประจักษ์ในน้ำใจ 
                                                      สู้ตายชายอื่นมิให้ต้อง            อันจะมีผัวสองอย่าสงสัย 
                                                      ถึงมาตรแม้นชีวันจะบรรลัย    จะตายในความซื่อสัตยา" 
4. เป็นคนที่มีความเป็นตัวของตัวเองแม้ว่านางจะตกอยู่ในสภาพที่ถูกบังคับ โดยนางไม่ยอมทำตามผู้ใหญ่ ดังตอนที่ท้าวดาหามีดำรัสให้ขึ้นมาเข้าเฝ้าอิเหนา นางรู้ว่าจะให้ไปไหว้จึงเข้าไปนอนด้วยความเคืองไม่เข้าเฝ้าตามรับสั่ง จนเดือดร้อนถึงมะเดหวีต้องมาจัดการ แต่นางก็ไม่ออกมาโดยดีๆ ต้องผลักไสกัน
5. มีความซื่อสัตย์ ได้รักษาตัวไว้รอคอยอิเหนา ดังกลอนว่า 
                                                     " ถึงมาตรสู้ตายชายอื่นมิให้ต้อง     อันจะมีผัวสองอย่าสงสัย 
                                                      แม้นชีวันจะบรรลัย                      จะตายในความซื่อสัตยา" 
6. ไม่มีจริตแง่งอน เมื่ออิเหนาลักพานางไปไว้ในถ้ำ ก็ยินยอมแต่โดยดี 
7. เมื่อเป็นชาย คือ มิสาอุณากรรณ ก็ปฏิบัติตนกับระตูประมอตันอย่างบิดาของตน 
8. มีความกตัญญูต่อผู้มีพระคุณ เช่น ระตูประมอตัน 
9. มีความกล้าหาญจนมีระตูมาขอเป็นเมืองขึ้นหลายเมือง 
10. ไม่มีความริษยาถือโกรธผู้ใด มีน้ำใจ เมื่อมารดาให้ไหว้นางจินตะหรา บุษบาก็ยอมตาม ดังที่นางกล่าวกับอิเหนาว่า 
                                                      " แม้นน้องรักทักท้วงหวงหึง        พระองค์จึงห้ำหั่นเกศา 
                                                     เป็นถ้อยยำคำมั่นน้องสัญญา     เชิญเสด็จเชษฐารีบคลาไคล" 
และนางยอมให้อิเหนายกจินตะหราเป็นประไหมสุหรีฝ่ายขวาแต่โดยดี ด้วยเห็นว่านางจินตะหราเป็นผู้มาก่อน แม้ว่าจินตะหราจะไม่ใช่วงศ์เทวัญฯ ข้อนี้ยากที่จะหาหญิงใดเสมอเหมือน นับว่าบุษบาเป็นหญิงไทยในวรรณคดีที่สมบูรณ์ด้วยคุณสมบัติคนหนึ่ง ความงามของนางถึงขั้นน่าอัศจรรย์ เพราะผู้ที่ได้เห็น จะตะลึงจนลืมตัวหรือถึงกลับสลบสิ้นสติไปเลย
 
 
 
นางมโนราห์

พระสุธน – มโนราห์ เป็นนิทานพื้นบ้านของไทย ที่นำมาจากชาดกได้นำมาเป็นวรรณคดีประกอบละครนอกใน สมัยอยุธยา เป็นเรื่องความรักแท้ที่ไม่ยอมแพ้แก่อุปสรรคใดๆ และตัวด้วยสัญญาแห่งความรักที่มั่นคง ถึงแม้จะต่างเผ่าพันธุ์ แต่อยู่ด้วยกันได้ ด้วยความเห็นอกเห็นใจเอื้ออาทรต่อกันระหว่างพระสุธน ซึ่งเป็นมนุษย์ กับนางมโนราห์ ซึ่งเป็นกินรี ที่พรานบุญจับมาถวาย ตอนเด่นของเรื่องเป็นตอนที่นางมโนราห์ ถูกกลั่นแกล้งใส่ความจนต้องถูกจับไปบูชายัญ แต่นางหลอกขอปีกขอหางบินหนีรอดไปได้ เมื่อพระสุธนกลับมารู้ข่าวก็รีบตามนางไปแม้หนทางนั้นจะยากลำบาก ในที่สุดก็สามารถตามนางคืนมาได้
๑. บทบาทของนางมโนราห์
                ๑.๑ การดำเนินเรื่อง
                       นางมโนราห์เป็นตัวดำเนินเรื่องที่สำคัญที่สุด  นาง นั้นเป็นนางเอกของเรื่อง และเรื่องก็เกิดจากนางที่ถูกพรานบุญจับตัวมาถวายแก่พระสุธน และนางยังถูกคนที่ไม่ชอบกลั่นแกล้งอีก จึงทำให้คนรักต้องออกตามหาแล้วในที่สุดก็อยู่อย่างมีความสุข
                ๑.๒ ชะตาชีวิตของนางมโนราห์
                            นางมโนราห์ มีชะตาชีวิตที่น่าสงสารตั้งแต่เริ่มที่ถูกพรานบุญจับตัวมา นางต้องพลัดพรากจากบิดามารดา แล้วยังต้องพลัดพรากจากชายผู้เป็นที่รัก ถือว่านางต้องมีความทุกข์ก่อนที่จะมีความสุข
๒.รูปโฉมของนางมโนราห์
                   มโนราห์เป็นหญิงสาวที่มีโฉมงดงาม ดังที่กวีได้กล่าวชื่นชมความงามของนางมโนราห์โดยผ่านนางจันทเทวีว่า
                                                 "  พระองค์สองกษัตรา                 มีโสมนัสเสน่หา
                                                   พิศโฉมมโนห์รา                     ยิ่งหยาดฟ้าลงมาดิน
                                                   สมเด็จพระเจ่าแม่                   ตั้งตาแลเร่งถวิล
                                                   ดังจะกล้ำกลืนกิน                   โฉมเฉิดฉินพ้นพรรณนา
                                                   ตรัสถามถึงเค้ามูล                   นางกราบทูลแต่หลังมา
                                                   ได้ฟังพระวาจา                       สุรเสียงเพระชอบพระทัย
                                                   แสนสวาทของมารดา               ปลื้มวิญญาณ์ยอดพิสมัย
                                                  เชิญองค์อรทัย                       เข้ามาใกล้ลูบปฤษฎางค์
                                                  พิศเพ่งผิวพักตรา                     วรกายาลักษณะนาง
                                                  พระองค์ทรงสำอาง                  ผิวเปรียบยังดอกมณฑา
                                                  รูปร่างนางที่สุด                      ล้ำมนุษย์เลิศเลขา
                                                  สมเด็จพระมารดา                   ชมกัลยาไม่อิ่มใจ"
(สมาคมศิษย์เก่าวิทยาลัยครูเพชรบุรี, หน้า ๔๙)
๓. ลักษณะนิสัยของนางมโนราห์
๓.๑ ความรัก และความสัตย์
๓.๒ ความกตัญญูของนางมโนราห์
๓.๓ การรู้จักให้อภัยของนางมโนราห์
๓.๔ ความรักนวลสงวนตัวของนางมโนราห์
๓.๕ ความอ่อนน้อมถ่อมตนของนางมโนราห์
๓.๖ ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ของนางมโนราห์
๔. สติปัญญา ความสามารถของนางมโนราห์
                ๔.๑ สติปัญญา (มีเหตุผล)
                        เห็นได้จากพฤติกรรมของนางมโนราห์ดังตอนที่นางมโนราห์ได้หาเหตุผลมาหว่านล้อมพรานบุญเพื่อให้ปล่อยตน
                ๔.๒ สติปัญญา (เฉียบแหลม)
                          นางมโนราห์ เป็นผู้ที่มีสติปัญญาความปราดเปรื่องเฉียบแหลม รู้จักพิจารณาไตร่ตรองสิ่งต่างๆ ได้อย่างรอบคอบ รู้จักใช้สติปัญญาในการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้เป็นอย่างดี เป็นคนที่มีเหตุผล 
๔.๔ ความสามารถของนางมโนราห์
               นางมโนราห์ มีความสามารถ คือ นางสามารถบินได้ เพราะนางเป็นกินรี นางสามารถเสกของวิเศษได้ จากตอนที่นางหนีมาจากเมืองแล้ว นางได้เสกของฝากพระฤๅษี มีดังนี้ ผ้าก้มพลกับแหวน แล้วบอกว่า ถ้าพระสุธนมาถามขอให้มอบของสองอย่างนี้ให้ 
                จากที่มีผู้วิเคราะห์ไว้ ดิฉันมีความเห็นตรงกับผู้วิเคราะห์ เพราะนางสมารถให้สติปัญญาได้เป็นอย่าง แก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้เพราะนางมีสติอยู่กับตัวตลอด ไม่ตื่นเต้นตกใจอะไรง่าย พูดถึงนางแล้วนั้นนางงามทั้งรูปสมบัติ และคุณสมบัติ เหมาะกับการเป็นลูกของกษัตริย์จริงๆ นางเหมาะสมที่จะเป็นนางในวรรณคดีที่สำคัญคนหนึ่ง               
  จาก การศึกษาวิเคราะห์ตัวละคร นางมโนราห์เป็นตัวละครที่มีรูปโฉมงดงาม เกิดในชาติตระกูลสูง และมีคุณธรรมในการดำเนินชีวิต ซึ่งการสร้างตัวละครให้มีลักษณะเช่นนี้ก็เพื่อให้ตัวละครเป็นตัวแทนของความ ดีหรือเป็นสัญลักษณ์ของความดี เพื่อให้ผู้อ่านจะได้เลียนแบบปฏิบัติตามการกระทำที่ดีของตัวละครคือ นางมโนราห์   นางมโนราห์นับได้ว่าเป็นตัวละครที่ได้สอดแทรกคติ ธรรมคำสอนไว้อย่างแนบเนียน ซึ่งล้วนแต่เป็นประโยชน์ต่อดำรงชีวิตแก่ผู้ที่ศึกษาได้อย่างดี แล้วยังมีแนวคิดเรื่องกฎแห่งกรรม และแนวคิดเรื่องย่อยคือ เรื่องสติปัญญาและความรอบคอบ การพลัดพรากจากสิ่งที่รักแล้วเป็นทุกข์  ความกตัญญู ความรักและความซื่อสัตย์  และการรู้จักให้อภัย ซึ่งจะเห็นได้ว่าเรื่องนี้ให้คุณค่าแก่บุคคลที่ศึกษามาก และสามารถนำมาปรับใช้กับชีวิตประจำวันของตนเองได้

 
 
 
 
นางศกุนตลา

ศกุนตลา เรื่องราวของนางในวรรณคดีนี้เริ่มจาก พระวิศวามิตรเกิดนึกอยากมีฤทธิ์มากๆจึงสละราชสมบัติ ออกบำเพ็ญตบะในป่าจนแก่กล้ายิ่ง ทำให้เหล่าเทวดาพากันเดือดร้อนไปทั่ว พระ
อินทร์คิดแก้ไข โดยให้นางฟ้าเมนกาลงมาใช้ความงามยั่วยวน เพื่อทำให้พระฤาษีตนนี้ไม่มีกะจิตกะใจจะบำเพ็ญเพียร ทั้งสองจึงครองคู่กัน จนกระทั่งมีธิดามาคนหนึ่ง พอดีกับตอนนั้นพระวิศวามิตรที่
ผ่านพ้นระยะข้าวใหม่ปลามัน เกิดได้คิด จึงบอกนางเมนกากลับสวรรค์ ส่วนพระองค์ก็ออกไปจักรวาล ทิ้งพระธิดาน้อยๆอยู่ในป่าแต่เพียงลำพัง ดีที่ได้พวกนกคอยเลี้ยงดู เมื่อพระกัณวดาบสมาพบเข้า
จึงให้นางนามว่า ศกุนตลา ซึ่งแปลว่านางนกและนำกลับไปเลี้ยงดูอย่างธิดาที่อาศรมของตน ต่อมานางเติบโตเป็นสาวแรกรุ่นที่งดงามอย่างหาที่ติไม่ได้ ดังคำบรรยายที่ว่า...

 ดูผิวสินวลละอองอ่อน มะลิซ้อนดูดำไปหมดสิ้น สองเนตรงามกว่ามฤคิน นางนี้เป็นปิ่นโลกา งามโอษฐ์ดังใบไม้อ่อน งามกรดังลายเลขา งามรูปเลอสรรขวัญฟ้า งามยิ่งบุปผาเบ่งบาน
 แล้ววิถีชีวิตของนางได้มาถึงช่วงหัวเลี้ยวหัว ต่อที่สำคัญ เมื่อได้พบกับท้าวทุษยันต์ กษัตริย์จันทรวงศ์ แห่งนครหัสดิน ซึ่งเสด็จประพาสป่าเพื่อล่าสัตว์ แล้วบังเอิญตามกวางมาถึงบริเวณใกล้เคียง จึงแวะมายังอาศรม หมายพระทัยจะมานมัสการพระกัณวดาบส แต่ในตอนนั้นพระกัณเวดาบสไม่อยู่ เนื่องจากเดินทางไปบูชาพระเป็นเจ้าที่เทวสถานโสมเตียรถ์ เพื่อสะเดาะเคราะห์ให้แก่นาง
พวกปีศาจมารร้ายได้ถือโอกาสเข้ามาอาละวาดที่อาศรม รังควาญการบำเพ็ญเพียรของเหล่าพราหมณ์ผู้ศิษย์ พระกัณเวดาบส ท้าวทุษยันต์เสด็จมาปราบปีศาจได้สำเร็จ

 เมื่อท้าวทุษยันต์มีโอกาสอยู่ตาม ลำพัง ทั้งสองได้เป็นของกันและกัน หลังจากทุกอย่างเป็นไปตามจุดมุ่งหมายแล้ว ท้าวทุษยันต์ได้มอบแหวนวงหนึ่งแก่นางแล้วรีบเดินทางกลับบ้านเมือง
เช้าวันหนึ่งพระฤาษีทุรวาสผู้มีปากร้าย ได้มาเรียกนางที่หน้าประตู แต่นางไม่รู้ตัวด้วยกำลังป่วยเป็นไข้ใจ จึงไม่ได้ออกไปต้อนรับ ทำให้พระฤาษีทุรวาสโกรธสาปให้นางถูกคนรักจำไม่ได้ ต่อมาพระฤาษีทุรวาสหายโมโหแล้ว เพราะรู้ว่านางไม่ได้จงใจแสดงอาการไม่เคารพกับตนจึงให้พรกำกับแก่นางว่า 

 หากคนรักของนางได้เห็นของที่ให้ไว้เป็นที่ระลึกก็จะจำนางได้ พระกัณดาบสได้ทราบเรื่องราวต่างๆของนางกับ ท้าวทุษยันต์ จึงส่งนางไปให้ท้าวทุษยันต์จัดพิธีอภิเษก ในระหว่างทางที่ไปนางได้ทำแหวนที่ท้าวทุษยันต์ประทานให้ตกหายไปในแม่น้ำ เมื่อไปถึงที่หมายท้าวทุษยันต์ทรงจำนางไม่ได้ จนกระทั่งกุมภิลชาวประมงจับได้ปลาที่กลืนแหวนซึ่งนางศกุนตลาทำหาย พอเห็นแหวนท้าวทุษยันต์ก็ได้สติจำเรื่องราวต่างๆได้ 

 จนกระทั่งท้าวทุษยันต์ได้พบกับนางศกุนตลาอีกครั้ง หลังจากพลัดพรากจากกันไปเนิ่นนานด้วยความช่วยเหลือของพระเทพบิดรและพระเทพ มารดร ดังนั้น ท้าวทุษยันต์ทรงรับมเหสีและโอรสกลับสู่นครหัสดินด้วยความปิติยินดี(ตอนที่ นางไปหาท้าวทุษยันต์นางทรงครรภ์แก่ นางได้กำเนิดพระโอรสทรงพระนามว่าพระภรต เกิดตอนอาศัยอยู่กับพระกศบและนางอทิติเหตุที่เป็นเช่นนี้เพรา ะขณะที่นางจะไปสู่ที่พักโสมราตปุโรหิตของท้าวไตรตรึง ได้ลอบอธิษฐานว่าหากสิ่งที่นางศกุนตลาพูดเป็นความจริง ขอให้เกิดปาฏิหาริย์ประจักษ์ต่อหน้า พออธิษฐานจบ นางศกุนตลาได้หายลับไป ต่อหน้า ซึ่งนางได้มาอยู่กับพระกศบและนางอทิตินั่นเอง)
 
 
 
 
นางพินทุมดี
  ในกาลปางก่อน พระเจ้าวินทัตครองเมืองพรหมปุระ พระองค์มีพระโอรสหนึ่งมีบุญมาก เมื่อประสูติบังเกิดเสียงสนั่นหวั่นไหวทั่วไป พระบิดาจึงตั้งชื่อว่า " สมุทโฆษ "
          พระสมุทโฆษเติบโตเป็นชายหนุ่มที่งดงาม มีความประพฤติเป็นที่น่านิยม และมีสติปัญญาดีเรียนรู้วิทยาการชั้นสูง มีความสามารถในการใช้อาวุธ กิตติศัพท์ความสามารถของพระสมุทโฆษก็ร่ำลือไปยังนครต่าง ๆ
          ทางเมืองรัมปุระซึ่งพระเจ้าสีหนรคุตเป็นผู้ครองอยู่นั้น พระองค์มีพระธิดาที่ฉลาดและงดงามชื่อพระนางพินทุมดี พระนางพินทุมดีได้ทราบกิตติศัพท์พระสมุทโฆษก็มีใจฝักใฝ่พระสมุทโฆษ จึงบนบานเทวดาขอให้พระสมุทโฆษเป็นคู่ครอง เทวดาจึงบันดาลให้พระสมุทโฆษเดินทางมาเมืองรัมปุระ และได้มีโอกาสดีดพิณถวายพระเจ้าสีหนรคุตเป็นที่พอพระทัย และได้พบพระนางพินทุมดีซึ่งต่างได้เกิดความรักต่อกัน พระเจ้าสีหนรคุตจึงได้จัดอภิเษกสมรสพระสมุท
โฆษกับพระนางพินทุมดีและอยู่ในเมืองรัมปุระอย่างมีความสุข
          วันหนึ่ง พระสมุทโฆษไปพบวิทยาธรตนหนึ่งมีบาดแผลสาหัสจากการต่อสู้ พระสมุทโฆษก็นำวิทยาธรามรักษาดูแลอย่างดีจนหายเจ็บ แข็งแรงดังเดิม วิทยาธรรู้สึกบุญคุณ เมื่อลากลับไปก็ถวายพระขรรค์ให้พระสมุทโฆษ และทูลชี้แจงว่า ถ้าถือพระขรรค์นี้แล้วจะสามารถเหาะเหินเดินอากาศได้
          เมื่อวิทยาธรลาไปแล้ว พระสมุทโฆษจึงคิดจะทดลองฤทธิ์ของพระขรรค์ จึงนั่งขัดสมาธิแล้วให้นางพินทุมดีนั่งบนตัก พระสมุทโฆษก็ถือพระขรรค์และนึกให้เหาะไปทางทิศเหนือ ก็ปรากฎว่าทั้วสองพระองค์ได้ล่องลอยไปในอากาศ และไปจนถึงป่าหิมพานต์ พระสมุทโฆษก็พานางพินทุมดีไปเก็บลูกไม้รสต่าง ๆ มาเสวยเป็นที่สำราญ ตอนกลางคืนก็พักในถ้ำเป็นที่สุขสำราญ ทั้งสองพระองค์ได้เดินทางไปตามที่ต่าง ๆ เป็นเวลาหลายเดือนก็คิดจะเดินทางกลับ วันหนึ่งผ่านป่ามีสระน้ำใสสะอาดก็แวะลงสระสรงน้ำและพัก ทั้งสององค์พากันหลับไป มีวิทยาธรตนหนึ่งเหาะผ่านมาเห็นพระขรรค์ก็ย่องลงมาขโมยพระขรรค์แล้วเหาะหนีไป
          เมื่อพระสมุทโฆษและพระนางพินทุมดีตื่นขึ้นมาไม่เห็นพระขรรค์ก็ตกพระทัย เที่ยวค้นหาเท่าไรก็ไม่พบ ต่างเป็นทุกข์เพราะเมื่อไม่มีพระขรรค์ก็ไม่สามารถเหาะกลับบ้านเมืองได้รวดเร็ว จะต้องเดินทางบุกป่าฝ่าหนามกลับไป พระสมุทโฆษทรงปลอบพระนางพินทุมดี แล้วทั้งสองพากันเดินทาง วันหนึ่งพบแม่น้ำขวางกั้น พระสมุทโฆษจึงหาขอนไม้มาให้พระนางพินทุมดีเกาะแล้วพาว่ายน้ำข้ามไป แต่เมื่อถึงกลางแม่น้ำเกิดพายุฝนมืดมิด ขอนไม้ที่เกาะไปหักเป็นสองท่อน ทั้งสององค์ก็พลัดแยกกันไป พระนางพินทุมดีถูกกระแสน้ำพัดไปเกยชายหาดเมืองมัทราษฎร์ หญิงหม้ายใจดีผู้หนึ่งพบเข้าก็พาพระนางไปพัก พระนางก็เล่าความให้ฟังและพระนางได้มอบธำมรงค์
เพชรมีราคามากให้หญิงหม้ายไปช่วยขายโดยจะขอทองคำห้าเล่มเกวียน หญิงหม้ายนำไปขายให้เศรษฐีในเมือง เมื่อพระนางพินทุมดีได้ทองมาแล้วก็ให้สร้างศาลาที่พักคนเดินทางและโรงทาน ในศาลาที่พักคนเดินทางพระนางพินทุมดีได้ให้ช่างมาวาดรูปฝาผนังเป็นเรื่องราวตั้งแต่พระ
นางอภิเษกสมรสกับพระสมุทโฆษ และการเหาะเดินทางไปเที่ยวป่าหิมพานต์ และภาพสองกษัตริย์เกาะขอนไม้ว่ายน้ำแล้วพายุพัดจนขอนไม้หักเป็นสองท่อนแล้วสองกษัตริย์ก็พลัดพราก
จากกัน แล้วพระนางพินทุมดีจัดหาคนทำอาหารเลี้ยงคนเดินทางที่มาพักที่ศาลา และให้มีคนคอยสังเกตผู้ที่ชมภาพเขียนฝาผนังที่ศาลา ถ้ามีใครแสดงกิริยาแปลกประหลาดให้รีบไปแจ้งให้พระนางทราบทันที
          ฝ่ายพระสมุทโฆษเมื่อขอนไม้หักกลางม่น้ำและพลัดแยกจากพระนางพินทุมดีก็ลอยออกสู่
ทะเลใหญ่ พระสมุทโฆษว่ายน้ำอยู่ในทะเลถึงเจ็ดวัน พระอินทร์ได้ทรงทราบถึงความทุกข์ยาก
ของพระสมุทโฆษจึงแสดงอิทธิฤทธิ์เหาะตามวิทยาธรที่ขโมยพระขรรค์ของพระสมุทโฆษ และสั่งให้วิทยาธรนำพระขรรค์ไปคืนพระสมุทโฆษที่กลางทะเล เมื่อพระสมุทโฆษได้พระขรรค์คืนก็เหาะจะกลับเมือง ระหว่างทางจึงทรงหยุดพักที่เมืองมัทราษฎร์ เมื่อทรงหาที่พัก ชาวเมืองพากันแนะนำให้ไปพักที่ศาลาคนเดินทางของพระนางพินทุมดี พระสมุมโฆษเมื่อไปถึงที่ศาลาที่พักและได้รับเลี้ยงอาหารแล้วก็ทรงเดินดูภาพเขียนที่ฝาผนัง เห็นเป็นเรื่องราวเหมือนของพระองค์กับพระนางพินทุมดีก็กรรแสงร่ำไห้และทรงพระสรวลสลับกันไป คนเฝ้าศาลาเห็นมีกิริยาแปลกประหลาดจึงรีบไปแจ้งพระนางพินทุมดี พระนางก็รู้ได้ทันทีว่าเป็นพระสมุทโฆษ จึงรีบออกมาต้อนรับ พระสมุทโฆษทรงปลาบปลื้มยินดีมีความสุข แลังทั้งสองพระองค์ก็เหาะกลับไปเมืองรัมปุระด้วยพระขรรค์ ชาวเมืองรัมปุระและชาวเมืองพรหมปุระก็มีความยินดี และพระเจ้าสีหนรคุตพระบิดาของพระนางพินทุมดีก็อภิเษกให้พระสมุทโฆษครองเมืองรัมปุระ โดยพระองค์ออกผนวช พระเจ้าวินททัตพระบิดาของพระสมุทโฆษก็ทรงออกผนวชด้วย และมอบราชสมบัติเมืองพรหม
ปุระให้แก่พระสมุทโฆษ พระสมุทโฆษและพระนางพินทุมดีก็ปกครองนครทั้งสองด้วยความสุขสืบมา.
 
 
นอซาตอลอัวดัด
 
 ลิลิตนิทราชาคริตนี้  พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชนิพนธ์เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๒๒  โดยทรงแปลเก็บเนื้อความมาจากนิทาน เรื่อง " The Sleeper Awaken " ซึ่งเป็นนิทานอาหรับโดยไม่ทราบว่าใครแต่ง  และแต่งเมื่อใด
 ความมุ่งหมาย     พระราชทานแก่พระบรมวงศานุวงศ์ในงานปีใหม่
ลักษณะการแต่ง    แต่งเป็นลิลิตสุภาพ  มีร่ายและโคลงสลับกัน
 เนื้อหาสาระ
  เป็นนิทานเรื่องหนึ่งที่นางเซหะระซัดเล่าถวายพระราชา  โดยเล่าว่า...............
พระเจ้ากาหลิบพระองค์หนึ่งพระนามว่า  พระเจ้าฮารูนอาลราษจิต  เสวยราชสมบัติ ณ กรุงแบกแดด  พระองค์ทรงปลอมเป็นพ่อค้า  เที่ยวสัญจรไปตามเมืองต่างๆอยู่เนืองนิตย์  ประชาชนจึงอยู่เย็น
เป็นสุขเรื่อยมา  มีทายาทของนายพาณิชผู้มั่งมีคนหนึ่งชื่อ  อาบูหะซัน  เมื่อบิดาสิ้นชีพแล้ว  เขาจึงแบ่งทรัพย์สมบัติออกเป็น ๒ ส่วน  ส่วนหนึ่งซื้อที่ดินเรือกสวนไร่นาและตึกรามบ้านช่องไว้ให้
คนเช่าอีกส่วนหนึ่งเก็บไว้เพื่อการสำราญเลี้ยงเพื่อนฝูงและนารี  โดยไม่คิดทำการค้าขายอีกต่อไป  อาบูประพฤติเช่นนี้เป็นเวลา ๑ ปี เงินทองก็หมดสิ้นไป  จึงเที่ยวยืมเงินเพื่อนฝูง แต่กลับต้องผิดหวัง
เมื่อเพื่อนฝูงหลบหน้า และพากันรังเกียจ  เขาจึงพากเพียรเก็บออมเงินทองเพื่อค้าขายใหม่   ในไม่ช้าเขาก็กลับมามั่งคั่งตามเดิม  เขาได้ตั้งสัตย์ไว้ในใจว่าจะไม่คบเพื่อนฝูงในเมืองแบกแดดอีกเป็น
อันขาดและจะคบแต่เพื่อนต่างเมืองเท่านั้น  เพียงคืนเดียว เมื่อพบปะกันอีกก็จะทำเป็นไม่รู้จัก
   วันหนึ่งพระเจ้าฮารูนอาลราษจิต  ปลอมพระองค์เป็นพ่อค้ามาเมืองมุศสุล  มีทาสผิวดำมาด้วยคนหนึ่ง  เมื่อเสด็จมาถึงบ้านอาบูจึงได้รับเชิญให้เข้าไปในบ้านของตน  และบอกว่าจะต้อน
รับเพียงคืนเดียว  พระเจ้ากาหลิบเห็นแปลกก็รับเชิญ  ขณะบริโภคอาหารและดื่มสุราอย่างสนุกสนานนั้นพระเจ้ากาหลิบพยายามลวงถามถึงชีวิตอาบู  และความเป็นไปของคนในแบกแดด อาบูก็เล่า
ความจริง   ถึงอีแมนซึ่งเป็นอาจารย์และศิษย์ทั้งสี่  ว่าประพฤติตนชั่วช้าและเล่าต่ออีกว่า  หากเขาเป็นพระเจ้ากาหลิบจะจับอีแมนกับศิษย์มาเฆี่ยนประจานให้หลาบจำ  ตกดึกพระเจ้ากาหลิบจึงโรยยา
สลบให้อาบูดื่ม  เมื่ออาบูสิ้นสติจึงสั่งทาสให้แบกอาบูเข้าวังทันที
  พระเจ้ากาหลิบจึงสั่งให้แต่งเครื่องทรงอาบูอย่างกษัตริย์  และกำชับขุนนางให้ปฏิบัติกับอาบูเหมือนปฏิบัติกับพระองค์  ครั้งรุ่งขึ้นอาบูตื่นจึงคิดว่าตนฝันไป  แต่เหล่าสนมและอำมาตย์ยืนยัน
ว่าเขาคือกาหลิบจริงๆ  อาบูจึงเคลิ้มว่าตนเป็นกาหลิบจึงๆบ้าง  เมื่อเสด็จออกว่าการ อาบูกาหลิบก็ตัดสินข้อราชการได้ถูกต้อง  พร้อมสั่งพวกนครบาลไปจับตัวอีแมนและศิษย์ทั้งสี่มาลงโทษประจาน 
และสั่งให้นำทองคำพันลิ่มไปมอบให้นางจอบแก้วผู้เป็นมารดาด้วย
  ตกค่ำเมื่อเสวยพระกระยาหาร  นางกำนัลนามว่าฟองไข่มุกลอบวางยาสลบลงในถ้วยสุราเมื่ออาบูสิ้นสติแล้วพระเจ้ากาหลิบจึงรับสั่งให้เปลี่ยนชุด  และให้ทาสดำแบกไปส่งบ้านเดิมของเขา
รุ่งขึ้นอาบูตื่นขึ้นเวลาบ่าย  ยังคงเพ้อพกถึงความสนุกสนานในวัง ครั้งมารดามาเตือนว่าตนเองคืออาบูก็กลับทุบตีมารดา  ชาวบ้านจึงจับเขาไปส่งโรงพยาบาลโรคจิต    อาบูถูกโบยตีสาหัสจึงมีสติ
เช่นเดิม
  หลังจากนั้นอีกเดือนหนึ่งพระเจ้ากาหลิบจึงปลอมพระองค์มาหาอาบูใหม่  และทรงกระทำเช่นเดิมอีกนครั้งนี้อาบูเกิดสนุกสนานจนลุกขึ้นมาเต้นรำกับสนมกำนัล  พระเจ้ากาหลิบซึ่ง
แอบทอดพระเนตรอยู่สุดจะกลั้นได้พระสรวลลั่นออกมา  เมื่ออาบูทราบว่ามิตรของตนคือ พระเจ้ากาหลิบ ก็เข้าไปขอพระราชทานอภัยโทษ  กาหลิบจึงตั้งให้อาบูอยู่รับราชการในสำนักพร้อมทั้งพระ
ราชทานนางนอซาตอลอัวดัดให้เป็นภรรยาของอาบูด้วย 
   อาบูกับอัวดัดอยู่กินกันอย่างมีความสุข  ทั้งสองใช้สอยเงินอย่างฟุ่มเฟือยไม่นานเงินพระราชทานก็หมดลง  อาบูจึงออกอุบายว่าตนจะไปทูลพระเจ้ากาหลิบว่านางอัวดัดตายเพื่อจะได้รับ
พระราชทานเงินปลงศพ  ส่วนนางอัวดัดก็ให้ไปทูลพระนางโซบิเดว่าอาบูตายจะได้รับพระราชทานเงินเช่นกัน  ในที่สุดพระเจ้ากาหลิบและพระนางโซบิเดจึงเสด็จมาที่เรือนอาบูทั้งสองจึงแกล้งทำเป็น
ตาย     พระเจ้ากาหลิบตรัสว่าถ้าใครบอกว่าตายก่อนจะได้ทองพันลิ่ม พอสิ้นเสียงตรัสอาบูและอัวดัดก็ลุกขึ้นทั้งคู่  พร้อมกับทูลว่าตายก่อน  สองกษัตริย์และคนทั้งหลายพากันขบขันครื้นเครงอาบู
และอัวดัดได้รับอภัยโทษและได้รับทองอีกคนละพันลิ่ม
 
 
 
ทมยันตี
 
นาง ทมยันตีเป็นนางเอกในเรื่องพระนล เป็นธิดาของพระเจ้าภีมะ ทั้งพระนลและนางทมยันตีต่างใฝ่ฝันถึงกันและกันโดยที่มิได้พบกันเลย ทั้งนี้ก็เพราะความงามของนางทมยันตี และความเก่งกล้าสามารถของพระนลที่เลื่องระบือไปถึงกันนั่นเอง
วัน หนึ่งพระนลเสด็จออกประพาสพระอุทยานได้ทอดพระเนตรหงส์รูปงามตัวหนึ่งจึงไล่ จับไว้ หงส์ทูลขอชีวิตและรับอาสาจะไปกล่าวสรรเสริญพระนลให้นางทมยันตีฟัง ณ เมืองวิมรรภนคร พระนลจึงปล่อยหงส์ให้เป็นอิสระ
เมื่อ นางทมยันตีได้สดับฟังคำสรรเสริญของหงส์แล้วยิ่งเป็นทุกข์เพราะพิษรักที่มี ต่อพระนล พระภีมะจึงประกาศทำพิธีสยมพร จนเป็นเหตุให้เจ้าชายจากเมืองต่างๆเสด็จมายังวิทรรภนคร รวมทั้งท้าวโลกบาลทั้งสี่ด้วย
เมื่อ ท้าวโลกบาลพบพระนลในงานและเห็นว่ารูปงามจึงขอให้เป็นทูตสื่อสารในการสยมพร นางทมยันตีให้ด้วย แล้วบอกชื่อของตนว่าชื่อ พระอินทร์ พระอัคนี พระยม และพระวรุณ เป็นเหตุให้พระนลเศร้าพระทัยเป็นที่สุด แต่จำต้องรับคำ และด้วยเทวฤทธิ์พระนลจึงไปปรากฏตัวเฉพาะหน้านางทมยันตีได้ แล้วตรัสถึงความรักที่ท้าวโลกบาลทั้งสี่มีต่อนาง แต่นางก็ยืนยันว่ามีความรักให้พระนลพระองค์เดียวเท่านั้น พร้อมทั้งให้พระนลไปบอกความรู้สึกนี้แก่ท้าวโลกบาล
เมื่อ ถึงเวลาสยมพร นางทมยันดีกลับเห็นพระนล ๕ พระองค์ นางจึงอธิษฐานว่าขอให้ได้พระนลองค์จริง จึงทำให้เทวดามาสำแดงให้เห็น นางจึงได้อภิเษกกับพระนล
ระหว่างทาง ที่ท้าวโลกบาลเหาะกลับนั่นเอง ได้พบกับกลี และทวาบรซึ่งกำลังเดินทางมาพิธีสยมพรด้วย เมื่อทราบว่านางทมยันตีเลือกพระนลแล้วจึงพิโรธจึงออกโอษฐ์ว่าจะลงโทษนางให้ สาสม แม้ท้าวโลกบาลจะทักท้วงอย่างไรก็หาฟังไม่
กลี จึงตกลงกับทวาบรว่าตนจะเข้าสิงพระนล ให้ทวาบรสิงสะกา แล้วพาไปแคว้นนิษัทซึ่งพระนลและนางทมยันตีประทับอยู่ เป็นเวลา ๑๒ ปีกลีก็เข้าสิงพระนลได้แล้วยุยงให้บุษกรอนุชาของพระนลให้เล่นสะกาพนันเอา เมืองและทรัพย์สินต่างๆ
บุษกรชนะทำ ให้พระนลต้องพานางทมยันตีออกจากเมือง นางจึงชวนให้ไปอยู่ที่วิทรรภนครระหว่างเดินทาง กลีได้เข้าสิงพระนลอีกแล้วหนีนางไป เมื่อนางทมยันตีตื่นขึ้นจึงออกตามหาพระนลจนถูกงูใหญ่รัดกายไว้แน่น บังเอิญมีพรานป่ามาเห็นเข้าจึงช่วยนางไว้ได้
ด้วย ความงามของนางทมยันตีทำให้พรานป่าอยากได้นางเป็นเมีย นางจึงขอให้เทวดาอารักษ์ช่วยทำให้พรานป่าต้องขาดใจตายก่อนทำอันตรายนาง นางเดินออกตามหาพระนลต่อไปจนพระมารดาของท้าวเจทีมาเห็นและรับว่าจะช่วยตามหา พระนลให้จงได้
ส่วนพระนลเมื่อหนีนาง ทมยันตีมาก็ได้ไปช่วยนาคราช นาคราชได้กัดพระนลจนกลายร่างเป็นคนน่าเกลียด เพราะนาคราชมีความประสงค์ไม่ให้ใครจำพระนลได้ แล้วเปลี่ยนชื่อเป็น วาหุก เดินทางไปเป็นสารถีของพระเจ้าฤตุบรรณ หากพระนลต้องการกลับมารูปงามให้นึกถึงนาคราช
พระ เจ้าภีมราชออกประกาศให้รางวัลแก่ผู้ที่พบนางทมยันตี พราหมณ์สุเทพได้พานางกลับมายังวิทรรภนครแล้วออกตามหาพระนลต่อไปจนพบและพาพระ นลกลับมาหานาง ในระหว่างเดินทางพระเจ้าฤตุบรรณได้สอนหัวใจสะกาให้พระนล และพระนลได้สอนหัวใจม้าแลกเปลี่ยนกันทำให้กลีที่สิงพระนลหายไป
เมื่อ นางทมยันตีพบพระนลในร่าง วาหุกได้ขับกล่อมเพลงจนทำให้พระนลร้องไห้พร้อมทั้งพาพระโอรสของพระนลออกมา พระนลจึงกอดรัดพระโอรสและกลายร่างเป็นพระนลตามเดิมเมื่อทรงเห็นว่านางทมยัน ตียังมีความซื่อสัตย์ต่อพระองค์อยู่
จากนั้นพระนลกลับมาท้าบุษกรเล่นสะกาและได้ชัยชนะได้เมืองและทรัพย์สมบัติทั้งหมดคืนมา
นางทมยันตีจึงเป็นนางในวรรณคดีที่เป็นสัญลักษณ์ของความซื่อสัตย์ที่แท้จริง
 
 
 

 

เตียวเสี้ยน
 เตียวเสี้ยนถือเป็นหญิงงามอันดับที่สามจากหญิงงามทั้งสี่คนเตียวเสี้ยนหญิงงามที่คนทั่วไปต่างก็รู้จักเธอผ่านนิยายสามก๊กนั้นเป็นบุคคล ที่ไม่ได้มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์เธอเป็นเพียงสตรีที่ถูกสร้างขึ้นจากปลายปากกาของหลอก้วนจงนักเขียนอัจฉริยะ ผู้แต่งนิยายสามก๊ก "ซานกั๋วเหยี่ยนอี้" เท่านั้น
          เธอเป็นหญิงงามที่มีประวัติส่วนตัวน้อยที่สุดหากเทียบกับหญิงงามคนอื่นๆใน ประวัติศาสตร์เธอเป็นบุตรสาวบุญธรรมของอ้องอุ้นเสนาบดีใหญ่แห่งราชวงศ์ฮั่นตะวันออกใน ยุคของพระเจ้าฮั่นเหี้ยนเต้ แต่บางฉบับก็ว่าเธอเป็นนางกำนัลของอ้องอุ้นครั้งนั้นตั๋งโต๊ะเจ้าเมืองเสเหลียงได้นำกองทัพหลายแสนเข้ามายึดอำนาจใน เมืองหลวงและตั้งตัวเองขึ้นเป็นมหาอุปราช ผู้สำเร็จราชการสูงสุด และกุมอำนาจทั้งหมดเหนือพระเจ้าเหี้ยนเต้
         ตั๋งโต๊ะถือเป็นทรราชย์ตัวจริงเสียงจริงที่มีความโหดเหี้ยมแบบสุดๆในยุคสาม ก๊กนั้น ความเลวทรามและความอำมหิตของเขานั้นเป็นของจริงที่แม้แต่โจโฉซึ่งเป็นอุปราช แทนเขาในภายหลังก็เทียบไม่ติด เพราะอย่างน้อยบ้านเมืองยุคที่โจโฉปกครองนั้นก็ยังมีความสงบสุข ผู้คนทั่วไปสามารถทำมาหากินได้โดยไม่อดอยาก บรรดาทหารและขุนนางผู้ใต้บัญชาก็สามารถอยู่ได้อย่างปกติสุข หากว่าไม่ไปทำให้โจโฉขุ่นเคืองใจมากๆ
         เมื่อย้ายเมืองหลวงมาที่เตียงฮันแล้วตั๋งโต๊ะก็ยังคงปกครองด้วยความโหดร้าย ทารุณต่อไปซึ่งท่ามกลางเสียงสาปแช่งและโหยหวนของราษฎรนั้น ก็ได้มีผู้คิดวางแผนสังหารตั๋งโต๊ะขึ้นมาอย่างลับๆ คนผู้นั้นก็คือเสนาบดีใหญ่อ้องอุ้น
         ในนิยายสามก๊กเล่าว่าในขณะที่อ้องอุ้นกำลังนั่งถอนใจในห้องตัวเองนั้นเตียวเสี้ยนผู้เป็นสาวใช้ได้เดินเข้ามาถามด้วยความเป็นห่วงเตียวเสี้ยนนั้นได้รับความเอ็นดูจากอ้องอุ้นเหมือนเป็นบุตรสาวจึงได้สาบาน ต่อเขาว่าหากมีสิ่งใดที่เธอทำให้ได้เธอจะยอมสละชีวิตให้ และในตอนนั้นเองอ้องอุ้นจึงคิดแผนการขึ้นมาได้
         แผนนางงามเป็นแผนง่ายๆที่ไม่ได้มีอะไรซับซ้อน โดยใช้ให้หญิงงามยั่วยุให้สองฝ่ายเข่นฆ่ากันเองหรือไม่ก็ใช้หญิงงามทำให้ เป้าหมายหลงคลั่งไคล้จนเสียผู้เสียคน ซึ่งก่อนหน้านี้ในประวัติศาสตร์ก็เคยมีผู้ใช้แผนนี้สำเร็จนี้มามากแล้ว แต่ถึงกระนั้นแผนนี้ก็ยังคงใช้ได้ดีแม้จะในยุคนี้ก็ตาม นั่นเพราะสันดานของผู้ชายและผู้มีอำนาจนั้นไม่ว่าจะเป็นยุคสมัยก็ไม่เปลี่ยน ไปเลย นั่นคือความบ้าผู้หญิงจนหน้ามืดตามัวจนเสียการงาน
         นับแต่นั้นมาเวลาที่เตียวเสี้ยนอยู่กับตั๋งโต๊ะเพียงลำพังก็จะใช้จริตมารยา ยั่วยวนจนตั๋งโต๊ะหลงใหล แต่หากว่ามีลิโป้อยู่ด้วยนางก็จะแอบส่งสายตาให้ และเมื่อบางครั้งที่ได้อยู่กับลิโป้เพียงลำพังนางก็จะร้องว่าตั๋งโต๊ะใช้ กำลังเข้าข่มขู่นางไม่อาจปฏิเสธได้ แต่เมื่อเวลาที่ตั๋งโต๊ะสงสัยว่านางกับลิโป้มีชู้กันนางก็จะว่าลิโป้หาทางจะ ลวนลามนางและขู่ว่าจะฆ่าตัวตายหากว่าตั๋งโต๊ะไม่เชื่อ เมื่อตั๋งโต๊ะห้างนางไว้ได้นางก็โผเข้าร้องไห้ที่ตัวของตั๋งโต๊ะ
         เตียวเสี้ยนเป็นเพียงตัวละครที่หลอก้วนจงสร้างขึ้นเพื่อเพิ่มสีสันให้เรื่อง สามก๊กที่เต็มไปด้วยเรื่องฆ่าฟันให้คนดูงิ้วและคนอ่านได้เพลิดเพลินกับบทรัก ของลิโป้และเตียวเสี้ยนบ้าง
 
 
 
นางอุษา
 
  บริเวณวัดวังพระธาตุ ด้านหน้าวัดมีศาลของท้าวแสนปมและในบริเวณวัด มีรูปปั้น ท้าวแสนปม ที่คนทั่วไปให้ความเคารพนับถือ ในฐานะ เป็นตำนานของท้าวแสนปม ผู้สร้างเมือง เทพนคร ฝั่งตรงกันข้ามกับนครไตรตรึงษ์ มีตำนานเล่าขานกันมาช้านาน 
          นอกจากคำเล่าขานของชาวบ้านแล้วท้าวแสนปมตามตำนานในต้นพระราชพงศาวดารกรุง เก่าฉบับสมเด็จพระปรมานุชิตชิโนรส ว่าใน จุลศักราช 681 พ.ศ. 1862 ท้าวแสนปม ได้ไปสร้างเมืองใหม่ขึ้นที่เมืองเทพนครและขึ้นครองราชย์สมบัติในเมืองเทพนคร ทรงพระนามว่าพระเจ้า สิริชัยเชียงแสนครองราชย์สมบัติ 25 ปี สวรรคตเมื่อจุลศักราช 706 พ.ศ. 1887 ทรงมีพระราชโอรสทรงพระนามว่าพระเจ้าอู่ทองได้ชื่อเช่นนี้เพราะ เพราะพระราชบิดานำทองคำมาทำเป็นอู่ให้นอน จึงขนานนามพระองค์ว่าพระเจ้าอู่ทอง ภายหลังพระเจ้าอู่ทองเป็นผู้สถาปนากรุงศรีอยุธยาเป็น เมืองหลวงและทรงพระนาม ว่าสมเด็จพระรามาธิบดีที่1 
          พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงวิจารณ์เรื่องท้าวแสนปมไว้ในหนังสือบทละครเรื่องท้าวแสนปม ที่พระองค์ทรงพระราชนิพนธ์ ว่า ตำนานเรื่องท้าวแสนปมนี้จะต้องมีมูลความจริง เพราะอย่างน้อยศักราชที่ทรงทิวงคต เป็นของแน่นอน แต่มีผู้เล่าต่อๆกันมาภายหลัง เล่าไปใน ทางปาฏิหาริย์จนเหลือเชื่อ 
          จากคำบอกเล่าของชาวบ้าน และพระราชนิพนธ์เรื่องท้าวแสนปมของรัชกาลที่ 6 ล้วนมีแนวทางใกล้เคียงกันว่าท้าวแสนปมคือพระชินเสน โอรสของท้าวศรีวิชัย ได้ข่าวว่านางอุษาธิดาของเจ้าเมืองไตรตรึงษ์งดงาม จึงคิดลองพระทัยจึง ปลอมเป็นชายเข็ญใจ ชื่อแสนปม เพราะทำปุ่ม ปมเต็มตัวเพื่อลองใจนาง แล้วแฝงเข้าไปอยู่กับคนทำสวนหลวง จนได้พบนาง แล้วถวายมะเขือท้าวแสนปม จารึกคารมรักบนผลมะเขือ เป็น ปริศนาว่า (ฉายรมณีย์แห่งอารยธรรมมรดกดลกกำแพงเพชร ตอนที่ 1ประกอบ) 
         
                                                  ในลักษณ์นั้นว่านิจจาเอ๋ย           กระไรเลยหัวอกหมกไหม้ 
                                                  อกผ่าว ราวสุมรุมไฟ                 ทำไฉนจะพ้นไฟราญ
                                                  เสียแรงเกิดมาเป็นนักรบ            เผ่าพงศ์ทรงภพมหาศาล
                                                  สู้กรำลำบากยากนาน               ยอมเป็นปมเป็นปานเปรอะไป
                                                  ได้เห็นแก้วประเสริฐเลิศชม         จะนิยมก้อนกรวดกระไรได้
                                                  เคยพบสาวฟ้าสุราลัย                หรือจะใฝ่ในชาวปัถพิน
                                                  โอ้แก้วแวววับช่างจับจิต           จะใคร่ปลิดปลดมาดังถวิล
                                                  โอ้เอื้อมสุดหล้าดังฟ้าดิน            จะได้สมดังจินต์ฉันใด            
     
นางอุษาตอบ สาส์นรัก ตอบลงในใบพลูเป็นปริศนาเช่นกันว่า
                                                  ในลักษณ์นั้นหนาน่าประหลาด       เป็นเชื้อชาตินักรบกลั่นกล้า
                                                  เหตุไฉนย่อท้อรอรา                   หรือจะกล้าแต่เพียงวาที
                                                  เห็นแก้วแวววับที่จับจิต              ไยไม่คิดอาจเอื้อมให้เต็มที่
                                                  เมื่อไม่เอื้อมจะได้อย่างไรมี           อันมณีหรือจะโลดไปถึงมือ
                                                  อันของสูงแม้ปองต้องจิต             ถ้าไม่คิดปีนป่ายจะได้หรือ
                                                  ไม่ใช่ของตลาดที่อาจซื้อ             ฤาแย่งยื้อถือได้โดยไม่ยอม
                                                  ไม่คิดสอยมัวคอยดอกไม้ร่วง         คงชวดดวงบุปผชาติสะอาดหอม
                                                  ดูแต่ภุมรินเที่ยวบินตอม               จึงได้ออมอบกลิ่นสุมาลี
             
          ในที่ ทั้งสองกษัตริย์ได้ลักลอบพบกัน จนนางอุษาตั้งพระครรภ์ ชาวบ้านไม่เข้าใจจึงคิดว่านางอุษาเสวยมะเขือแล้วตั้งท้อง จึงเกิดตำนาน ท้าวแสนปม ว่า 
          นานมาแล้วมีชายผู้หนี่ง ถูกลอยแพมาติดที่เกาะขี้เหล็ก ซึ่งอยู่ใต้เมืองกำแพงเพชร ชายผู้นั้นมีรูปร่างน่าเกลียดมีปุ่มปมขึ้นเต็มตัว ชาวบ้าน จึงเรียกเขาว่า แสนปม และเรียกเกาะขี้เหล็กว่า เกาะตาปม ตามชื่อแสนปม นายแสนปมทำไร่ ปลูกพริก ปลูกมะเขืออยู่ที่เกาะปมนี้ และมีมะเขือต้น หนึ่ง อยู่หน้ากระท่อมมีผลใหญ่มาก เพราะแสนปม ปัสสวะ รดทุกวัน 
          วันหนึ่งพระราชธิดาของเจ้าเมืองกำแพงเพชร เสด็จประพาสที่เกาะปม ทอดพระเนตรเห็นผลมะเขือ ก็นึกอยากเสวย จึงรับสั่งให้นางสนม ไปขอเจ้าของมะเขือ แสนปมจึงเก็บผลมะเขือ ที่อยู่หน้ากระท่อม ให้นางสนมไปถวาย หลังจากพระราชธิดาเสวยผลมะเขือไปไม่นานก็ทรงครรภ์ เจ้าเมืองกำแพงเพชร ทรงพิโรธมาก เพราะพระราชธิดาไม่สามารถบอกได้ว่าใครเป็นพ่อ นอกจากเสวยผลมะเขือ ของแสนปมเท่านั้น 
          ต่อมาพระราชธิดา ทรงมีพระประสูติกาล เป็นพระราชโอรส เจริญวัยหน้ารัก เจ้าเมืองผู้เป็นพ่อ จึงรับสั่งให้เสนา ป่าวประกาศให้ผู้ชายทุกคน มาเสี่ยงทายเป็นพระบิดาของพระราชโอรส ว่า ถ้าผู้ใดเป็นบิดาขอให้โอรสคลานเข้าไปหา บรรดาผู้ชายทุกคน ไม่ว่าหนุ่มแก่ชรา ยาจก เข็ญใจ เศรษฐี เจ้าต่างเมือง ต่างพากันมาเสี่ยงทาย เป็นบิดาของพระราชโอรส แต่พระราชโอรสไม่ได้คลานไปหาใครเลย แม้จะใช้ของล่อใจอย่างไรก็ ตาม 
          เจ้าเมืองแปลกพระทัย จึงให้เสนาไปตามแสนปม ซึ่งยังไม่ได้มาเสี่ยงทายในครั้งนี้ ให้มาเข้าเฝ้า เพื่อลองเสี่ยงทายเป็นบิดา เพราะเหลือ แสนปมเพียงคนเดียว แสนปมจึงมาเข้าเฝ้า พร้อมทั้งถือก้อนข้าวเย็นมาหนึ่งก้อน เมื่อมาถึงจึงอธิษฐานแล้วก้อนข้าวเย็นให้ พระราชโอรสก็คลานเข้ามาหา เจ้าเมืองจึงยกพระราชะธิดาให้ แก่แสนปม และให้กลับไปอยู่ที่เกาะปม 
          วันหนึ่งท้าวแสนปมไปทอดแหที่คลองขมิ้น แต่ทอดแหครั้งใดก็ได้แต่ขมิ้นจนเต็มลำเรือ แสนปมแปลกใจมาก เมื่อกลับไปบ้านขมิ้นกลับกลายเป็นทองคำ แสนปมจึงนำทองคำไปทำเปลให้ลูก และตั้งชื่อลูกว่าอู่ทอง 
          ทุกวันแสนปมจะไปถางไร่ จนกระทั่งวันหนึ่งแสนปมไปถึงไร่ก็พบว่าต้นไม้ที่ถางไว้กับขึ้นงดงามตามเดิม แสนปมจึงถากถางใหม่ แต่วันรุ่งขึ้นก็ปรากฏเหตุการณ์ เหมือนเดิม แสนปมถึงแอบดู ก็เห็นลิงตัวหนึ่งเดินตีกลอง ออกมาจากป่า ต้นไม้ก็กลับขึ้นงอกงามเหมือนเดิม 
          เมื่อกลับมาบ้าน พระราชธิดาไม่เชื่อว่าเป็นแสนปม แสนปมจึงเล่าเรื่องให้ฟัง และทดลองตีกลองให้ดู พระราชธิดาจึงเชื่อ จากนั้นท้าวแสนปม จึงตีกลองเพื่อเนรมิต เมืองใหม่ ให้ชื่อว่าเทพนคร และตั้งตัวเป็นเจ้าเมือง ผู้คนจึงเรียกขานว่าท้าวแสนปม 
          ตำนานท้าวแสนปม เกือบจะเป็นสากล คือมีตำนานกันอยู่หลายเมืองทั่วประเทศ แต่ที่เมืองไตรตรึงษ์ มีหลักฐานชัดเจน จึงอาจสรุปได้ว่าท้าวแสนปมอยู่ที่เมืองกำแพงเพชรอย่างแน่นอน
 
 
 
 
นางพิมพิลาไลย
 
 นางวันทองเป็นธิดาคนเดียวของพันศรโยธา และนางศรีประจัน ครอบครัวของนางวันทองเป็นตระกูลพ่อค้าที่มีฐานะดีพอสมควร นางจึงได้รับการเลี้ยงดูเป็นอย่างดี นางวันทองมีรูปร่างหน้าตาสวยงาม อรชนอ้อนแอ้น กิริยามารยาทแช่มช้อย ซึ่งความสวยของนางนั้นปรากฏให้เห็นชัดตั้งแต่ยังเป็นเด็ก และยังมีผมสวย ดังที่กวีพรรณนาไว้ว่า
                                                  "ทรวดทรงส่งศรีไม่มีแบน     อรชรอ้อนแอ้นประหนึ่งเหลา
                                                     ผมสลวยสวยขำงามเงา   ให้ชื่อเจ้าว่าพิมพิลาไลย"
          เมื่อนางเติบโตขึ้นก็ยิ่งมีความสวยงามยิ่งขึ้น เป็นเหตุให้ขุนแผนและขุนช้างมีจิตใจผูกพันรักใคร่ ส่งผลให้เกิดเรื่องราววุ่นวายตามมามากมาย
ลักษณะนิสัย
          เนื่องจากนางวันทองมีโอกาสใกล้ชิดกับนางศรีประจัน นางจึงได้รับลักษณะนิสัยบางอย่างของนางศรีประจันมา เช่น เป็นคนเจ้าคารมโวหาร ใช้ถ้อยคำประชดประชันเสียดสี ปากกล้า โดยเฉพาะเมื่อเกิดอารมณ์โมโห นางจะหลุดถ้อยคำหยาบ ๆ ออกมาได้มากมาย นางวันทองมีลักษณะสาวชาวบ้านจึงเป็นคนซื่อ ไม่ค่อยฉลาดเท่าใดนัก ทำอะไรก็ทำตามประสาหญิงชาวบ้าน เมื่อโตเป็นสาวก็เริ่มคิดเรื่องคู่ครอง อันเป็นเรื่องธรรมดาตามธรรมชาติ แต่สังคมไทยมีความจำกัดให้ผู้หญิงอยู่ในกรอบของประเพณี จึงทำให้ดูเหมือนว่านางวันทองไม่รักนวลสงวนตัว
           อย่างไรก็ตาม นางวันทองก็ยังมีภาพลักษณ์ด้านดีที่เห็นได้ชัด คือ ความละเอียดอ่อน ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องการรับรู้ถึงความดีของผู้อื่นที่ปฏิบัติต่อนาง ดังจะเห็นได้จากถึงแม้นางจะไม่ได้รักขุนช้างแต่ด้วยความดีของขุนช้างและความผูกพันที่อยู่กันมา 15 ปี ทำให้นางเป็นห่วงเป็นใยความทุกข์สุข และความรู้สึกของขุนช้างไม่น้อย หรือ อารมณ์ที่ละเอียดอ่อนในการเป็นแม่ศรีเรือนที่ดี เช่น ความประณีตในการปักม่าน นอกจากนี้นางวันทองยังเป็นคนกล้าที่จะยอมรับชะตากรรมของตัวเอง มีน้ำใจเมตตา และให้อภัยโดยไม่เคียดแค้น
 
 
 
 
พระเพื่อน  พระแพง
 
 
 
 
นางจันท์สุดา
 
 
 
 
ยอพระกลิ่น
 
 
 
 
นางสุวิญชา
 
 
 
 
ตะเภาแก้ว - ตะเภาทอง
 
 
 
 
แก้วหน้าม้า
 
 
 
 
นางสุวรรณมาลี
 
 
 
 
 
นางวาสิฏฐี
 
 
 
 
ลำหับ  เงาะป่า
 
 
 
 
 
นางกากี
 
 
 
 
นางเอื้อย
 
 
 
 
นางเบญจกาย
 
 
 
 
นางโมรา
 
 
 
 
ขอบคุณข้อมูลจาก
 
 
 
 
 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น